หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน
การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน
หลายคนคิดว่า นิติ..เรียนจบแล้ว ไปทำอะไรกิน จบไปก้อตกงาน แต่จริงๆแล้ว เส้นทางการประกอบอาชีพของคนที่เรียนจบนิติศาสตร์ มีมากกว่า 300 สาขาอาชีพเลยนะ หลายคนอาจยังไม่เคยรู้นิติศาสตร์ มีเส้นทางการประกอบอาชีพให้เลือกเดิน แบ่งเป็น 2 สายใหญ่ๆ ได้แก่
1. สายข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตำรวจ เป็นต้น หรือที่ไม่ใช่ข้าราชการแต่เป็นเจ้าพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานราชการ เช่น นิติกรประจำหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ประจำศาล เป็นต้นค่ะ อาชีพในเส้นทางสายนี้ เหมาะกับคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต แต่ก้อเป็นที่ทราบกันดีว่า อาชีพข้าราชการนั้น ไม่ได้ตอบสนองในเรื่องรายได้สูงมากมายนัก แต่สำหรับข้าราชการในสายตุลาการ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ นี้ ถือว่าเป็นข้าราชการที่เงินเดือนสูงที่สุดเลยก้อว่าได้ เพดานเงินเดือนอาจสูงถึงหลักแสนกันเลยทีเดียวนะคะ แต่คนจะทำอาชีพเหล่านี้ได้ ต้องมีความยุติธรรม และมีคุณธรรมในหัวใจสูงมากๆเลยนะคะ ไม่งั้น บ้านเมืองคงแย่มากมายเลยล่ะค่ะ
2. สายเอกชน อันได้แก่ การทำงานในบริษัท Law Firm สำนักงานทนายความ เป็นต้น อาชีพในเส้นทางสายนี้ สามารถสร้างความร่ำรวยให้กับคุณได้ตามที่คุณต้องการเลยค่ะ แต่ก้อต้องแลกกับการทำงานหนัก ความรับผิดชอบอย่างสูง การเสียความเป็นส่วนตัว เพราะงานในสายนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า หินแค่ไหน แต่มานก้อม่ายเกินความสามารถหรอกนะคะ โดยเฉพาะ ถ้าคุณเป็นคนชอบความท้าทายและการแข่งขันอยู่แล้วด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายเส้นทางให้คุณเลือกเดิน อาทิเช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ที่มา:โดยน.ส.ยุภาพรรณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น