LAW FOOTBALL CLUB

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล

          อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้จำนวน และ จุดประสงค์ของการปกครองเป็นเกณฑ์ เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

          1. รูปแบบการปกครองที่ดี
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

          2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
2.1. ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย (Oligachy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

           อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี

          อริสโตเติลได้แสดงความเห็นว่า รูปแบบ Polity นั้น จัดเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และ มีเสถียรภาพมากที่สุด อริสโตเติลได้อธิบายว่า Polity เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ Constitutional Government เป็นรัฐที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกนักบริหาร ซึ่งมีหน้าที่นการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม การปกครองแบบ Polity จะเป็นหลักการประนีประนอม ระหว่างหลักการ 2 อย่างคือ เสรีภาพ และ ทรัพย์สิน เป็นการเชื่อมเสรีภาพของคนจน กับ ทรัพย์สินของคนรวย เพื่อที่อำนาจสูงุดจะได้ไม่อยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย อริสโตเติลยอมรับว่า อำนาจเป็นของประชาชนดีกว่า ที่จะเป็นของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศีลธรรม

          รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ คนรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง กล่าวคือ ถ้าหากชนชั้นกลางมีมาก รัฐก็จะมีเสถียรภาพมาก เพราะเหล่าคนชั้นกลาง จะระงับพลังของคนจน และ คนรวย ที่จะทำลายรูปแบบ Polity แล้วกลับไปสู่รูปแบบ Democracy หรือ Oligachy

          อริสโตเติลยังมีความเห็นว่า คนแต่ละชนชั้นในสังคมนั้น จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง กล่าวคือ คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรพย์สิน คน 2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

          ด้วยเหตุผลดังกล่าว อริสโตเติล จึงเชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคม



ที่มา : http://armzadtt-law.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น