LAW FOOTBALL CLUB

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติศาสตร์

        หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน
การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน
หลายคนคิดว่า นิติ..เรียนจบแล้ว ไปทำอะไรกิน จบไปก้อตกงาน แต่จริงๆแล้ว เส้นทางการประกอบอาชีพของคนที่เรียนจบนิติศาสตร์ มีมากกว่า 300 สาขาอาชีพเลยนะ หลายคนอาจยังไม่เคยรู้นิติศาสตร์ มีเส้นทางการประกอบอาชีพให้เลือกเดิน แบ่งเป็น 2 สายใหญ่ๆ ได้แก่
1. สายข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตำรวจ เป็นต้น หรือที่ไม่ใช่ข้าราชการแต่เป็นเจ้าพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานราชการ เช่น นิติกรประจำหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ประจำศาล เป็นต้นค่ะ อาชีพในเส้นทางสายนี้ เหมาะกับคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต แต่ก้อเป็นที่ทราบกันดีว่า อาชีพข้าราชการนั้น ไม่ได้ตอบสนองในเรื่องรายได้สูงมากมายนัก แต่สำหรับข้าราชการในสายตุลาการ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ นี้ ถือว่าเป็นข้าราชการที่เงินเดือนสูงที่สุดเลยก้อว่าได้ เพดานเงินเดือนอาจสูงถึงหลักแสนกันเลยทีเดียวนะคะ แต่คนจะทำอาชีพเหล่านี้ได้ ต้องมีความยุติธรรม และมีคุณธรรมในหัวใจสูงมากๆเลยนะคะ ไม่งั้น บ้านเมืองคงแย่มากมายเลยล่ะค่ะ
2. สายเอกชน อันได้แก่ การทำงานในบริษัท Law Firm สำนักงานทนายความ เป็นต้น อาชีพในเส้นทางสายนี้ สามารถสร้างความร่ำรวยให้กับคุณได้ตามที่คุณต้องการเลยค่ะ แต่ก้อต้องแลกกับการทำงานหนัก ความรับผิดชอบอย่างสูง การเสียความเป็นส่วนตัว เพราะงานในสายนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า หินแค่ไหน แต่มานก้อม่ายเกินความสามารถหรอกนะคะ โดยเฉพาะ ถ้าคุณเป็นคนชอบความท้าทายและการแข่งขันอยู่แล้วด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายเส้นทางให้คุณเลือกเดิน อาทิเช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น





ที่มา:โดยน.ส.ยุภาพรรณ


ความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของ โทมัส ฮอบส์

จุดมุ่งหมายและเนื้อหาของปรัชญา
ฮอบส์มีความคิดว่า ปรัชญามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ คือ มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มนุษย์นั่นเอง ความรู้ทางปรัชญาและวิชาการต่างๆ คือ อำนาจ คือสามารถทำให้มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติได้ คุณค่าของความรู้จึงอยู่ที่ทำให้มนุษย์มีอำนาจ

ความรู้ทางปรัชญาคือความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและผล ของปรากฏการณ์ทั้งหลาย เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล เนื้อหาของปรัชญาจำกัดอยู่ที่การศึกษาเกี่ยวกับสสารและการเคลื่อนที่ของสสาร ปรัชญาของฮอบส์จึงเป็นปรัชญาสสารนิยม

อภิปรัชญา
ความคิดของฮอบส์นั้นเป็นแบบสสารนิยมหรือวัตถุนิยมหรือวัตถุนิยม เชื่อว่า สิ่งที่เป็นจริงต้องมีตัวตนซึ่งได้แก่สสาร ยังถือว่าสสารต้องมีการเคลื่อนที่หรือการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของสสารทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เราสามารถศึกษาได้หลายแง่มุมจนเกิดเป็นวิชาการต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้กฎของความเป็นเหตุเป็นผล มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว เรียกว่า กฎกลศาสตร์หรือกฎธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยไม่มีสาเหตุ ฮอบส์ไม่ได้คิดว่าพระเจ้าเป็นสาเหตุแรกของสิ่งต่างๆ เพราะพระเจ้าในความหมายที่เป็นสิ่งที่ไร้ตัวตน “ไม่อาจจะเข้าใจได้” นั่นคือไร้ความหมาย หรือไร้สาระ

สสารและการเคลื่อนที่ไหวของสสารนั้นปรากฏชัดแจ้งต่อประสาทสัมผัสของเรา มันจึงเป็นสิ่งที่เรา “เข้าใจได้”
ฮอบส์อธิบายว่า การเคลื่อนไหวของสสารเป็นสาเหตุแรกของปรากฏการณ์ต่างๆ มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว เป็นคำอธิบายที่เรียกว่าเป็นแบบจักรกลนิยม คือ มองว่าทุกสิ่งในโลกดำเนินไปเหมือนการทำงานของเครื่องจักร ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปหมด

สำหรับจิตของมนุษย์ เป็นสสารที่ละเอียดอ่อนตั้งอยู่ที่สมอง และทำงานภายใต้กฎแห่งการเคลื่อนไหวแบบจักรกล ความคิด ความรู้สึก ความสำนึกรู้ ตลอกจนจินตนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวในสมองทั้งสิ้น ทุกอย่างในตัวมนุษย์ต้องดำเนินไปตามกฎกลสาสตร์ที่ว่างไว้แน่นอนแล้ว จิตไม่มีอิสระในการเลือกหรือตัดสินใจทำอะไรตามเจตจำนงของตนเอง ทำได้เพียงตอบสนองต่อแรงผลักดันของอำนาจจากสิ่งเร้าภายนอกเท่านั้น

เราเรียกสิ่งหนึ่งว่า “ดี” ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เราต้องการหรือพอใจ เราเรียกอีกสิ่งหนึ่งว่า “เลว” ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เราเกลียดหรือทำให้เราเจ็บปวด

ความคิดทางอภิปรัชญาของฮอบส์เป็นแบบวัตถุนิยมที่อธิบายความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ต่างๆ ว่าดำเนินไปแบบกลไกหรือจักรกล คือมีระบบระเบียบแน่นอนตายตัว เหมือนการทำงานของเครื่องจักร ฮอบส์นำเอาความคิดจักรกลนิยมไปอธิบายการทำงานของจิตและการทำงานของมนุษย์ สิ่งที่เรียกว่า เสรีภาพหรือเจตจำนงอิสระจึงไม่มีสำหรับมนุษย์ การอธิบายการกระทำของมนุษย์และการงานของจิตมนุษย์ เราเรียกการอธิบายเรื่องนี้ของฮอบส์ว่าเป็นการอธิบายแบบนิตินิยม ปรัชญาของฮอบส์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัตถุนิยมจักรกลนิยม และนิยตินิยม นั้นเดนไปด้วยกันเสมอ

ทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยา

แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ชนิด คือ

    ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นความรู้ที่ได้มาโดยอาศัยประสาทสัมผัสหรืออายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นสื่อให้เราสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ ความรู้ที่ได้มาโดยประสาทสัมผัสนี้เป็นความรู้ที่ไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา แต่อาจมีบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริงของวัตถุที่ถูกรู้เนื่องจากประสาทสัมผัสเราเองมีข้อบกพร่อง

    ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของความรู้ทางปรัชญา ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงมี 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นความประทับใจทางประสาทสัมผัส คือ เป็นการสัมผัสโดยตรงระหว่างประสาทสัมผัสกับวัตถุ
    
    ความรู้เกี่ยวกับความสืบเนื่องของสาเหตุและผล เป็นความรู้ที่ฮอบส์ถือว่าเป็นปรัชญา ปรัชญาคือความรู้เกี่ยวกับผลหรือปรากฏการณ์ที่เราได้โดยการอ้างเหตุผลที่ถูกต้องจากความรู้ที่เรามีอยู่ก่อน เกี่ยวกับสาเหตุหรือที่มาของมัน และเป็นความรู้เกี่ยวกับสาเหตุหรือที่มาที่อาจจะได้จากการรู้ผลของมันก่อน

ฮอบส์ให้ความสำคัญแก่วิธีการนิรนัย คือให้ความสำคัญแก่วิธีการทางคณิตศาสตร์ ระบบปรัชญาของฮอบส์ถูกสร้างขึ้นให้เป็นวิธีการนิรนัย วิธีการนิรนัยของฮอบส์แตกต่างจากพวกเหตุผลนิยม หลักการเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานของการนิรนัยต้องเป็นความรู้เชิงประจักษ์ ได้มาโดยประสบการณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั่นเอง ฮอบส์ย้ำว่า มนุษย์และวิทยาศาสตร์เป็นหนี้บุญคุณคณิตศาสตร์ความก้าวหน้าในวิชาดาราศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยคณิตศาสตร์ และผลประโยชน์ที่ได้มาจากศาสตร์ประยุกต์ได้มาจากคณิตศาสตร์

จริยศาสตร์
เป็นความคิดแบบอัตนิยม มนุษย์กระทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มนุษย์ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนอื่นเพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นี่เองที่เป็นเหตุให้มนุษย์กระทำทุกอย่างเพื่อตนเอง

ความกลัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดสำนึกทางจริยธรรม เกิดการรวมตัวกันเป็นสังคมเป็นรัฐที่มีผู้ที่มีอำนาจในรัฐคอยให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ปรัชญาการเมือง

ธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวต้องการเกียรติยศชื่อเสียง แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว จึงมีการแข่งขันกันไม่ไว้วางใจกัน มนุษย์มีความสามารถเท่าเทียมกันทั้งทางร่างกายและจิตใจ มนุษย์มีความรักตัวกลัวตายอันนี้เป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์ร่วมมือกันนกระทั่งสามารถรวมกันจนเกิดเป็นรัฐขึ้น

มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ
หมายถึง สภาวะก่อนที่จะเกิดรัฐหรือสังคมขึ้น สภาวะนี้เป็นสภาวะที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์

ฮอบส์อธิบายว่า แรงกระตุ้นที่ทำให้มนุษย์กระทำกิจกรรมต่างๆ มีอยู่สองอย่างคืออารมณ์ และเหตุผล ถ้ามนุษย์กระทำตามอารมณ์จะทำให้มนุษย์ตกอยู่ใต้สภาวะสงคราม แต่อารมณ์ก็สามารถทำให้มนุษย์เกิดความกลัวตาย เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องการหลีกเลี่ยงมนุษย์จึงต้องการความสงบ เพราะทำให้เกิดความปลอดภัย เหตุผลทำให้มนุษย์รู้จักกฎเกณฑ์ที่นำไปสู่สันติภาพ ฮอบส์ เรียกว่า กฎธรรมชาติ เป็นกฎทางศีลธรรมที่มนุษย์สำนึกรู้ได้ด้วยเหตุผล เพื่อหนีสภาวะสงคราม เพื่อสันติภาพ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง มนุษย์จึงร่วมมือกันทำสัญญาต่อกันขึ้นเรียกว่า สัญญาประชาคม

สัญญาประชาคม
เป็นสัญญาที่มนุษย์ร่วมกันกระทำขึ้นเพื่อมอบอำนาจและสิทธิของตนให้แก่บุคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดสันติภาพและความปลอดภัยร่วมกัน เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นด้วยกติกาสัญญาของทุกคนกับทุกคนในลักษณะดุจว่าทุกคนควรจะกล่าวกับทุกคนว่า ข้าพเจ้ามอบและสละสิทธิของข้าพเจ้าในการปกครองตัวเองให้แก่คนๆ นี้ หรือกลุ่มนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า ท่านต้องสละสิทธิของท่านให้แก่เขาและมอบอำนาจกระทำการทั้งปวงให้แก่เขาเช่นเดียวกัน เรียกว่า จักรภพ

รัฐเกิดขึ้นด้วยความจำเป็นจากธรรมชาติของมนุษย์ คนหรือกลุ่มคนที่ได้รับมอบอำนาจ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ เป็นผู้ทรงอำนาจสิทธิขาด ใช้อำนาจแทนคนทั้งหมด รัฐเป็นเสมือนคนๆ เดียวเป็นเอกภพ หน้าที่ขององค์อธิปัตย์คือ ออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย รักษาความสงบภายใน องค์อธิปัตย์มีสิทธิที่จะห้ามการแสดงความคิดเห็นหรือการกระทำต่างๆ ของประชาชน ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะร้องเรียนว่า ถูกองค์อธิปัตย์กดขี่ทั้งนี้เพราะถือว่าการกระทำขององค์อธิปัตย์เป็นไปเพื่อลดความเห็นแก่ตัวของประชาชน พยายามทำให้สังคมสงบสุข ประชาชนต้องยินดียึดมั่นในสัญญาที่ให้ไว้







ที่มา : http://www.baanjomyut.com

รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล

          อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้จำนวน และ จุดประสงค์ของการปกครองเป็นเกณฑ์ เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

          1. รูปแบบการปกครองที่ดี
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

          2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
2.1. ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย (Oligachy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

           อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี

          อริสโตเติลได้แสดงความเห็นว่า รูปแบบ Polity นั้น จัดเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และ มีเสถียรภาพมากที่สุด อริสโตเติลได้อธิบายว่า Polity เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ Constitutional Government เป็นรัฐที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกนักบริหาร ซึ่งมีหน้าที่นการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม การปกครองแบบ Polity จะเป็นหลักการประนีประนอม ระหว่างหลักการ 2 อย่างคือ เสรีภาพ และ ทรัพย์สิน เป็นการเชื่อมเสรีภาพของคนจน กับ ทรัพย์สินของคนรวย เพื่อที่อำนาจสูงุดจะได้ไม่อยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย อริสโตเติลยอมรับว่า อำนาจเป็นของประชาชนดีกว่า ที่จะเป็นของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศีลธรรม

          รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ คนรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง กล่าวคือ ถ้าหากชนชั้นกลางมีมาก รัฐก็จะมีเสถียรภาพมาก เพราะเหล่าคนชั้นกลาง จะระงับพลังของคนจน และ คนรวย ที่จะทำลายรูปแบบ Polity แล้วกลับไปสู่รูปแบบ Democracy หรือ Oligachy

          อริสโตเติลยังมีความเห็นว่า คนแต่ละชนชั้นในสังคมนั้น จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง กล่าวคือ คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรพย์สิน คน 2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

          ด้วยเหตุผลดังกล่าว อริสโตเติล จึงเชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคม



ที่มา : http://armzadtt-law.blogspot.com

แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐของเพลโต

          บทสนทนาสามสิบห้าบทและจดหมายอีกสิบสามฉบับคืองานเขียนของเพลโตที่ตดทอดมาถึงเราบทสนทนาส่วนใหญ่ของเพลโตจะเป็นการสนทนาซึ่งจะมีโสกราติสเข้ามาเป็นละครสำคัญเสียส่วนใหญ่ กล่าวคือผลงานของโสกราติสก็ไม่ต่างอะไรกับผลงานของเพลโต บทสนทนาของเพลโตมีทั้งเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นปรัชญา หรืออื่นๆอีกมากมายหลายแขนงวิชา   แต่ที่จะเด่นชัดส่วนจะเป็นเรื่องการเมือง   บทสนทนาของเพลโตทั้งหมดกล่าวถึงปัญหาทางการเมืองไม่มากก็น้อย กระนั้นก็ดี มีบทสนทนาอยู่สามบทเท่านั้นที่มีชื่อบ่งบอกว่าเป็นเรื่องว่าด้วยปรัชญาการเมืองคือ  republic statesman  และ laws  และเราจะเข้าถึงคำสอนทางการเมืองของเพลโตได้โดยผ่านทางผลงานทั้งสามนี้เป็นหลักนั่นเอง  ใน republic  มีการอภิปรายถึงธรรมชาติของความยุติธรรมกับคนกลุ่มใหญ่พอสมควร การสนทนาในลักษณะนี้มักจะเป็นสนทนากับคนที่มีลักษณะจำเพาะ ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการสนทนากับคนที่มีฐานะทางสังคม สันนิษฐานได้ว่าบทสนทนานี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งความเสื่อมโทรมทางการเมืองของเอเธนส์ ผู้ร่วมสนทนามีความห่วงใยเป็นอย่างมากกับความเสื่อมโทรมนั้น และได้คิดถึงการที่จะทำให้การเมืองนั้นดีขึ้นมาได้  โสกราติสได้เสนอโครงการ ปฏิรูปที่ถึงรากถึงโคน  การปฏิรูปนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงปัจเจกเท่านั้น  ใน republic นั้นจะเน้นไปในเรื่องของความยุติธรรม  คุณธรรมสูงสุดในรัฐ และธรรมชาติของมนุษย์ 

                ความยุติธรรมในถูกกล่าวใน  republic เรามาดูกันว่าความยุติธรรมคืออะไร ความยุติธรรมคือ สิ่งเดียวกันกับการพูดความจริง และการคืนสิ่งที่บุคคลได้รับมาจากผู้อื่น การพูดความจริงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความยุติธรรม   อีกความหมายหนึ่ง ความยุติธรรมอยู่ที่การส่งคืนสิ่งที่มีผู้นำมาฝากไว้ กล่าวโดยกว้างๆก็คือ ความยุติธรรมคือการส่งคืน หรือปลดปล่อยหรือมอบสิ่งที่เป็นของเจ้าของให้เจ้าของทุกๆคน  ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ดี นั้นคือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มิเพียงแต่ผู้ให้แต่รวมไปถึงผู้รับด้วย   อีกความหมายหนึ่งความยุติธรรมคือ ผลประโยชน์ของผูที่แข็งแรงกว่า ผู้ที่แข็งแรงกว่าในที่นี้คือผู้ที่แข็งแรงทางสติปัญญา  รู้จักคำว่าพอดีสำหรับตน คนไม่กี่คนเท่านั้นที่จะรู้ว่าความเหมาะสมสำหรับตนมีขอบเขตเท่าใด ความต้องการของคนอยู่ที่ไหน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราได้รู้ว่าเราต้องการมันเพียงไหนนั้น คือสติปัญญาของเรานั่นเอง  จะมีใครสักกี่คนที่จะสามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญ ควรจะมีปริมาณเท่าใดจึงจะดี คนที่สามารถทำเช่นนี้ได้คือผู้ที่มีสตปัญญาที่ดีเท่านั้น  อีกความหมายหนึ่งของคำว่า ความยุติธรรม คือการช่วยมิตรและทำร้ายศัตรู ความยุติธรรมดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ดีอย่างเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ให้ และสำหรับผู้รับที่ดีกับผู้ให้ สิ่งเดียวที่ผู้ที่มีความยุติธรรมจำต้องทราบคือ เมื่อเขามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น อะไรบางที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น  กฎหมายจะเป็นตัวกำหนด ความรู้ในเรื่องนี้  โดยหลักการแล้วผู้ที่ยุติธรรมจะต้องให้เฉพาะสิ่งที่ดีแก่มิตรของตน ผู้ที่มีความยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยได้และแยกแยะออกว่าใครคือมิตร และใครคือศัตรู  ความยุติธรรมต้องเอาความรู้ในลำดับที่สูงเข้าไว้ด้วย ความยุติธรรมต้องเป็นศิลปะ ที่เปรียบเสมือนยาที่คอยรักษาคนให้หายป่วยและทำให้ร่างกายแข็งแรง  ผู้ที่มีความยุติจะช่วยผู้ที่มีความยุติธรรมมากกว่าเพื่อเสมอ  จากที่จะเป็นผู้ที่มีความยุติธรรมไดนั้นอาจไม่ง่ายสำหรับคนบางคน   ความยุติธรรมคือความที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อสาธารณหรือการอุทิศตนเพื่อนครรัฐของตน   ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ดี  ความยุติธรรมจะมีความบริสุทธิ์ในนครรัฐนั้นกฎของรัฐก็ต้องดีด้วย   รูปแบบการปกครองต้องดีด้วย   ความยุติธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อนครรัฐนั้นจะต้องดีด้วย

                กล่าวคือ republic จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า ความยุติธรรม ว่าเป็นเช่นไรมีความหมายอย่างไร ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว  การสร้างรัฐในอุดมคตินั่นเนื่องมาจากว่าคำว่าความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เป็นนามอธรรม รัฐในอุดมคติที่ว่า รัฐที่ดีควรมีราชาปราชญ์เป็นผู้ปกครอง ผู้ที่มีความรู้เข้ามาปกครอง ธรรมของมนุษย์ มนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ร่างกาย และจิตใจ ในที่นี้เราจะไม่กล่าวถึงร่างกายแต่เราจะกล่าวถึงจิตใจ  จิตใจของมนุษย์นั่นอาจจะมีส่วนประกอบอยู่สามสวนคือ ชอบในการเรียน ชอบในเกียรติ ชอบในกามสุข  แต่ทว่าสามส่วนที่กล่าวมานั้น มนุษย์มักจะมีอยู่หนึ่งส่วนที่จะเด่นกว่าส่วนอื่นๆ กล่าวคือ หากมนุษย์ มีคุณสมบัติที่ชอบในการเรียนก็จะเป็นนักปราชญ์ หากชอบในเกียติก็จะเป็นนักรบ หรือข้าราชการ หากชอบในกามสุขก็จะเป็นชนชั้นกลาง  เรามาดูกันต่อว่าตามปรัชญาดังกล่าวนั้นมนุษย์ในแต่ละแบบสมควรที่จะมีบทบาทอย่างไรต่อสังคม  คนที่ชอบในการเรียนก็จะเป็นนักปราชญ์ เหมาะที่จะเป็นผู้ปกครอง  คนที่ชอบในกามสุขมีความต้องการไม่สิ้นสุด หวังผลกำไรเหมาะที่จะเป็นพ้อค้าชนชั้นกลาง  คนที่ชอบในเกียรติ เหมาะที่จะเป็นทหารปกป้องประชากรภายในรัฐ

         การเป็นราชาและรัฐบุรุษล้วนแต่จะเป็นองค์ความรู้ด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นความหมายก็ไม่มีความสำคัญมากเพียงแต่ว่า หากผู้ที่มีความรู้จะมีตำแหน่งสูงเนื่องไดรับจากเลือกให้ดำรงตำแหน่ง  หรือจะมีชีวิตที่เรียบง่าย  ถ้าเช่นนั้นนครรัฐกับครอบครัวก็ไม่มีความแตกต่างกัน  การเป็นราชาหรือรัฐบุรุษนั้นเป็นศิลปะที่เกิดจากการออกกำลัง เพื่อที่จะเข้าใจศิลปะของราชา  การแบ่งสัตว์ออกเป็นสองสายพันธุ์คือ สัตว์ป่าและมนุษย์จึงไม่เพียงพอที่จะอธิบาย การแบ่งเช่นนี้เปนการแบ่งตามอำเภอใจ แต่ไม่ได้แยกตามธรรมชาติ  ศิลปะการแบ่งประเภทหรือแบบ หรือชนชั้นดำเนินไปพร้อมๆกับการฝึกฝนให้รู้จักถ่อมตนและพอประมาณอันที่จริงในธรรมชาติมนุษย์นั้นเท่าเทียมกัน  การปกครองนครรัฐกมจากการแบ่งสัตว์ออกเป็นประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะแบ่งตามฝูงเดียวกันหรือจะนอกฝูง การแบ่งการดูแลตามธรรมชาติ  ดูแลสายพันธุ์เดียวและต่างสายพันธุ์นั้นก็คือการดูแลคนในชนชันเดียวและต่างชนชั้น   การกครองนครรัฐ ตามธรรมชาติแล้วการปกครองย่อมแบ่งออกเป็นการปกครองที่ผู้ใต้การปกครองไม่เต็มใจ และการปกครองแบบผู้ที่อยู่ใต้การปกครองเต็มใจ อย่างแรกคือการปกครองแบบทรราชย์แบบหลังคือการปกครองแบบกษัตริย์

              ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานของเพลโต้ที่ว่าด้วยเรื่องทางเมืองมากที่สุดและกล่าวถึงกฎหมายด้วย  เป็นการสนทนาเกี่ยวกับการปกครองและกฎหมาย  กล่าวได้ว่า นครรัฐทุกนครรัฐอยู่ในสภาวะสงครามที่ไม่ได้ประกาศทำสงครามกับรัฐอื่นๆอยู่ตลอดเวลา ชัยชนะแห่งสงครามเป็นเงื่อนไขแห่งความสงบสุข  หากสงครามเป็นตัวกำหนดถึงความสุขและสิ่งที่ดีงามดังนั้นสงครามจงไม่ใช่เป้าหมาย  ความดีงามทั้งหลายคือเรื่องของสันติภาพ ดังนั้นคุณธรรมแห่งสงครามคือความกล้าหาญ เรารู้ถึงหลักกาสูงสุดในการบัญญัติกฎหมายว่า กฎหมายต้องเกี่ยวข้องกับคุณธรรม

                นครรัฐตามlawsไม่ใช่รัฐแห่งค่ายทหาร การควบคุมความพึงพอใจที่เหมาะสมได้แก่การควบคุมโดยการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ให้เหตุผลนั้นเป็นที่ยอมรับของนครรัฐ ผลลัพธ์ดังกล่าวก็จะกลายกฎหมาย  กฎที่เหมาะสมกับชื่อของกฎหมายได้แก่คำสั่งที่มาจากการให้เหตุผลที่ถูกต้องว่าด้วยเรื่องของความพึงพอใจ

                การปกครอง การปกครองจะดำรงอยู่ได้ต้องเป็นการปกครองแบบผสม สปาตาร์เป็นรัฐที่มีการปกครองแบบผสมอยู่แล้ว การปกครองแบบราชาเปอร์เซียเหนทีจะเด่นที่สุด และเอเธนส์ จะโดดเด่นในแบประชาธิปไตย ระบบกษัตริย์นั้นคือการปกครองที่มีผู้มีภูมิปัญญาเป็นผู้ปกครอง  ประชาธิปไตยหมายถึงความอิสรภาพ  การผสมที่ดีและถูกตองคือนำเอาความมีปัญญามาผสมกับอิสรภาพของปัญญากับความยินยอม ของการปกครองโดยกฎหมายทรงปัญญา โดยบัญญัติโดยผู้บัญญัติกฎหมายที่ทรงปัญญาและดำเนินการบริหารโดยสมาชิกที่ดีที่สุดของนครรัฐกับการปกครองโดยคนธรรมดา  กฎหมายจะต้องมีบทนำกว้างๆซึ่งคือการชักชวนให้ยกย่องสิ่งต่างๆตามที่ควรจะได้รับเกียรติตามลำดับ การปกครองโดยใช้กฎหมายนั้นเป็นการปกครองที่เลียนแบบการปกครองแบบเทพเจ้า

                ในส่วนท้ายนี้lawsได้พูดถึงการปกครองในรูปแบบต่างๆ การใช้กฎหมายควรเป็นไปเช่นไรจุดเด่นของการปกครองในแต่ละรูปแบบนั้นเป็นเช่นดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  รัฐในอุดมคติ คนของรัฐในอุดมคติ การใช้กฎหมายในอุดมติ สามสิ่งที่กล่าวมานั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝัน แต่ด้วยประการทั้งปวงมนุษย์จึงได้แค่เห็นความเป็นอุดมคติ แต่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้ยาก นี่แหละคือสิ่งที่เพลโตได้ทิ้งให้กับเรา








ที่มา : http://mid.igetweb.com/

สำนักกฎหมายบ้านเมือง

             
               สำนักกฎหมายบ้านเมืองนั้น เป็นแนวความคิดปฏิเสธ กฎหมายที่สูงกว่า (Higher Law) หรือกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) สิ่งที่ยอมรับเป็นกฎหมายที่แท้จริงคือกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เท่านั้น
กฎหมายบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายที่สูงกว่าเนื่องจากถือว่ารัฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุดที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ โดยมิอาจโต้แย้งถึงความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว   ยุติธรรม อยุติธรรม เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากกฎหมายที่รัฐาธิปัตย์มีอำนาจที่จะบัญญัติขึ้น
สาระสำคัญของความคิดนักคิดในแนวนี้ได้แก่
1. ทฤษฎี “อำนาจอธิปไตย” ของ Jean Bodin (ฌอง โบแดง)
 ให้ความหมายของอำนาจอธิปไตยว่าเป็นอำนาจเด็ดขาดและถาวร เป็นอำนาจสูงสุดที่มิอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ใดๆแสดงออกโดยการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐที่แท้จริง จากคำสอนของโบแดง ทำให้เกิดความคิดที่ถือว่า “กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น” ซึ่งพัฒนาไปสู่ความคิดสำนัก กฎหมายบ้านเมือง
2. ทฤษฎี “สัญญาสวามิภักดิ์” ของThomas Hobbes (โทมัส ฮอบส์)
 เชื่อในอำนาจรัฐาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเชื่อว่ามนุษย์ชั่วร้าย ขัดแย้งกันตลอด จึงเข้าทำสัญญาประชาคมยกเลิกอำนาจให้รัฐาธิปัตย์เพื่อคุ้มครองรักษาให้แต่ละคนมีชีวิตรอด   ซึ่งการมอบอำนาจให้รัฐาธิปัตย์นั้นเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์  คือให้อำนาจเด็ดขาดให้ปกครองดูแล ลงโทษ ยอมให้ออกกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์นั่นเองเครื่องมือรักษาความสงบของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมายบ้านเมืองซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ทั้งโดยตรงและโดยปริยายที่รัฐสั่งการและกำหนดไว้ว่าเป็นสิ่งถูก-ผิด บังคับแก่ประชาชน เมื่อรัฐเป็น ผู้กำหนดความถูก-ผิด ยุติธรรม-อยุติธรรม จึงไม่อาจมีกฎหมายใดที่อยุติธรรมได้ เพราะเมื่อประชาชนเข้าทำสัญญาตกอยู่ใต้อำนาจรัฐแล้วเท่ากับว่าประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายและย่อมไม่มีใครที่จะออกกฎหมายมาข่มเหงตัวเอง กฎหมายทั้งหลายจึงเป็นธรรมและประชาชนต้องยอมรับโดยดุษฎี

3. ทฤษฎี “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์” ของ John Austin (จอห์น ออสติน)
กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ กฎหมายที่แท้จริงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นใช้บังคับกับมนุษย์
 2.กฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อใช้บังคับมนุษย์ด้วยกัน

แนวคิดความยุติธรรมของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
- ความยุติธรรม คือการรักษาไว้ซึ่งคำสั่งที่เป็นกฎหมายใช้อย่างมีมโนธรรม
-หลักความยุติธรรมสูงสุดก็คือหลักความยุติธรรมตามกฎหมาย
-ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมในจิตใจมนุษย์ เป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคล
ดังนั้นความยุติธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องของความยุติธรรมตามกฎหมายเท่านั้น ความยุติธรรมภายใต้กฎหมาย มองความยุติธรรมทำนองเดียวกับปรัชญาเคารพกฎหมายอย่างเชื่อมั่น ถือว่าเป็นความยุติธรรมตามกฎหมาย ความยุติธรรมตามกฎหมายผูกพันความเชื่อทางศาสนา พระเจ้าของชาวยิวถือว่ากฎหมาย และความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวกันมีกำเนิดจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา, ผู้บัญญัติกฎหมาย จึงให้ความสำคัญต่อกฎหมาย และความยุติธรรมอย่างเสมอภาคกัน ความยุติธรรมกับกฎหมายคือการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายโดยปราศจากความลำเอียงเป็นความยุติธรรมในการใช้กฎหมายในรูปธรรม

สำนักกฎหมายบ้านเมือง
     1.กฎหมายทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
     2.ยอมรับการนำกฎหมายของประเทศอื่นมาใช้ในประเทศตน
 3.เน้นนิติบัญญัติ
      4.ไม่เน้นความยุติธรรมตามธรรมชาติแต่เน้นความยุติธรรมในตัวบทกฎหมายเท่านั้น
ความเหมือนและความแตกต่างของสำนักกฎหมายบ้านเมืองกับสำนักประวัติศาสตร์คือ สำนักกฎหมายบ้านเมืองและสำนักประวัติศาสตร์กฎหมายมีความเชื่อเหมือนกันว่าสังคมคือสิ่งที่ให้กำเนิดกฎหมายมิใช่พระเจ้า หรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติข้อแตกต่าง
ข้อสรุป
 แนวคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมืองมีความคิดว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมืองซึ่งบัญญัติโดยรัฐเป็นกฎหมายที่แท้จริงมีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่มีกฎหมายอื่นที่เหนือกว่า การแก้ไขข้อพิพาททั้งปวงให้คิดจากกฎหมายบ้านเมืองที่ใช้บังคับกันอยู่โดยไม่ต้องพึ่งพาหลักการอื่นใดที่สูงกว่า









ที่มา : http://www.lawsiam.com

กฎหมายธรรมชาติ

สำนักความคิดในทางกฎหมายธรรมชาติ  (School of Natural Law)
   1.  ความหมาย
                   กฎหมายธรรมชาติ หมายถึง กฎหมายซึ่งเกิดจากธรรมชาติมีอยู่แล้วในธรรมชาติและมีอำนาจบังคับตามธรรมชาติ  และด้วยเหตุที่ธรรมชาติย่อมเป็นสิ่งสากล และอยู่เหนือมนุษย์ สำนักความคิดนี้จึงเชื่อว่ากฎหมายธรรมชาติอยู่เหนือกฎหมายของมนุษย์ และใช้ได้ไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่
                   โดยทั่วไปแล้ว สาระสำคัญของกฎหมายธรรมชาติอยู่ที่ข้อพิจารณาคุณค่าของการกระทำว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด คำว่า “ถูก” หรือ “ผิด” ในที่นี้หมายถึงคุณค่าทางจริยธรรม
                   สำหรับคำว่า “ธรรมชาติ” (nature) นั้น ปรัชญาเมธีแต่ละคนต่างมีความเห็นต่างกันออกไปดังนี้
                   (1) เดิมเข้าใจว่าธรรมชาติก็คือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ความร้อย แสงสว่าง นั่นเอง
                   (2)  ต่อมาเริ่มมีผู้นำความคิดเรื่องธรรมชาติไปปะปนกับคตินิยมทางศาสนาและลัทธิต่าง ๆ จึงเกิคความคิดขึ้นว่าธรรมชาติคือพระผู้เป็นเจ้า
                   (3)  ในที่สุดก็ได้มีผู้เห็นว่าธรรมชาตินั้นคือความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีของมนุษย์เอง เช่น การที่รัฐออกกฎหมายมากดขี่ย่มเหงประชาชน โดยเก็บภาษีสูงหรือวางบทลงโทษที่ทารุณโหดร้ายนั้นย่อมขัดต่อความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือความเป็นธรรมในสายตาของคนทั่วไป กฎหมายของมนุษย์นั้นจึงขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ
   2.  กำเนิดและวิวัฒนาการ
                   ความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติมีเค้าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีก ดังจะเห็นได้จากบทละครของโสโฟคลีส (Sophocles) เรื่องแอนติโกนี (Antigone) ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยกรีกเพื่อประชดสังคมและพรรณนาความคิดเห็นทางกฎหมายและการเมืองของปรัชญาเมธีในสมัยนั้น บทละครเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนพระเจ้าศรีออน (Creon) ประกาศใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง ต่อมาแอนติโกนีนางเอกของเรื่องได้คัดค้านกฎหมายของพระเจ้าศรีออนใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง ต่อมาแอนติโกนีนางเอกของเรื่องได้คัดค้านกฎหมายของพระเจ้าศรีออนเพราะถือว่าขัดกับกฎธรรมชาติและสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ แอนติโกนีทอุทธรณ์ว่าพี่ชายของเธอควรได้รับการปลงศพอย่างสมเกียรติ พระราชาไม่มีสิทธิห้ามญาติมิตรไปร่วมพิธีปลงศพผู้ตาย เนื้อเรื่องบทละครดังกล่าวเป็นเรื่องแปลและผิดสมัยอย่างยิ่ง เพราะชาวกรีกไม่ยอมรับทฤษฎีที่ว่ามีกฎหมายอื่นใดสูงไปกว่ากฎหมายของทางการบ้านเมืองอีก
                   แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติ (natural law) เป็นผลพลอยได้จากแนวความคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติ (natural right) ปรัชญาเมธีในอดีตคิดค้นและกล่าวอ้างเรื่องสิทธิธรรมชาติขึ้นเพื่ออ้างชัยชนะหรือสถานะที่เหนือกว่าสิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพในระดับหนึ่ง แต่ปรัชญาเมธีกลับเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในระดับนี้น้อยเกินไปควรมีมากกว่านี้ ครั้นจะอ้างสิทธิเสรีภาพในตัวบทกฎหมายอื่นใดก็เป็นอันหมดสิ้น ไม่มีให้อ้างอีกแล้ว ในที่สุดจึงต้องอ้าง “สิทธิธรรมชาติ” ซึ่งกล่าวว่าเกิดขึ้น และมีอยู่ตามธรรมชาติ กล่าวคือเกิดเอง มีมาเอง โดยไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น และไม่ว่ามนุษย์จะไปเกิดอยู่ที่ใด เวลาใดสิทธิดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่เป็นนิรันดร ครั้นนานเข้าเมื่อมีสิทธิธรรมชาติได้ก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติ และคุณค่าต่าง ๆ ตามธรรมชาติเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาระของกฎหมายธรรมชาติ
                   เปลโต้ (Plato) เป็นปรัชญาเมธีคนแรกที่กล่าวอ้างถึงสิทธิธรรมชาติ แม้ไม่อาจเรียกได้ว่า เปลโต้เป็นนักกฎหมายธรรมชาติคนแรกก็ตาม ในหนังสือเรื่อง “อุตมรัฐ” และ “กฎหมาย” เปลโต้ได้กล่าวถึงสิทธิธรรมชาติในความหมายว่า “สิ่งซึ่งถูกต้องเป็นธรรม” (something which is by nature just) เปลโต้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ความถูกต้องเป็นธรรม” (justice) ว่าหมายถึง                การประพฤติปฏิบัติกิจของตนอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
                   ด้วยเหตุนี้ สิทธิธรรมชาติจึงเป็นสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมหรือควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติกิจของมนุษย์ให้เป็นระเบียบและเรียบร้อย แนวความคิดนี้มีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับ จริยศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ จึงมีผู้กล่าวว่าแม้เปลโต้จะกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้แต่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเรื่องสิทธิธรรมชาติ ดังที่เข้าใจกันในเวลาต่อมา
                   ปรัชญาเมธีคนต่อมาที่กล่าวถึงสิทธิธรรมชาติไว้ค่อนข้างใกล้เคียงกับความเข้าใจในปัจจุบัน คือ อริสโตเติล (Aristotle) ในหนังสือเรื่อง “จริยศาสตร์” (Ethies หรือ Nicomachean Ethics) อริสโตเติลได้อธิบายว่า สิทธิธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง และเป็นสิทธิที่สถิติอยู่ทุกแห่งหน ทั้งปรากฎอยู่โดยไม่ต้องมีโองการหรือประกาศใด  (Natural right is that right which has everywhere the same power and does not owe its validity to human enactment) อริสโตเติลกล่าวต่อไปว่า สิทธิตามกฎหมายบ้านเมือง (positive right) อาจมีมากหรือน้อยสุดแท้แต่ว่าเป็นอาณาจักรใด ปกครองด้วยระบบใด เช่น ประชาธิปไตยหรือคณาธิปไตย แต่สิทธิธรรมชาติย่อมเป็นสากลและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทุกอาณาจักรและทุกระบบการปกครอง
                   แนวความคิดเรื่องกฎหมรยธรรมชาติเริ่มเป็นระเบียบและวางรากฐานเป็นครั้งแรกในปลายสมัยกรีก เมื่อพวกสตออิค (Stoic) รุ่งเรืองขึ้น จนแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในโรมนักปรัชญาโรมันในสมัยนั้น ยอมรับความคิดนี้โดยมุ่งจะใช้เป็นข้อต่อรองหรือทุ่มเถียงกับผู้ปกครอง ซึ่งก้าวล่วงสิทธิของพลเมือง ซิเซโร (Cicero) เป็นนักปรัชญาคนสำคัญซึ่งอธิบายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือชื่อ “กฎหมาย” (Laws) “สาธารณรัฐ” (Republic) “ธรรมชาติของพระเจ้า” (On the Nature of the Gods) และ “ความสิ้นสุดของความดีและสิ่งเลวร้าย” (On the End of the Good and Bad Things)
                   ไกอุส (Gaius) เป็นปรัชญาเมธีคนต่อมาที่กล่าวถึง “กฎหมายอันเป็นสากล” (Jusgentium) ซึ่งคงหมายถึง “กฎหมายธรรมชาติ” (Jus naturale) นั่นเอง แนวความคิดนี้มีอิทธิพลมากต่อการจัดทำประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนี่ยนในเวลาต่อมา
                   คำว่า “Jus gentium” แปลว่า กฎหมายของประเทศต่าง ๆ (Law of nations) ซึ่งหมายถึงหลักกฎหมายที่นานาประเทศยอมรับนับถือว่าเป็นธรรมนั่นเอง หลักกฎหมายนี้คงตรงกับหลัก “equity” ในกฎหมายอังกฤษ “Jus gentium” ตรงกันข้ามกับคำว่า “Jus civile” ซึ่งหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้แก่พลเมืองในรัฐเท่านั้น ฉะนั้นในทรรศนะของปรัชญาเมธีชาวโรมัน “Jus civile” ย่อมแตกต่างกันไปตามรัฐต่าง ๆ ในขณะที่ “Jus gentium” ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วไป นักปรัชญาในสมัยต่อมานิยมอ้างว่า “Jus gentium” คือกฎหมายธรรมชาติเพราะมีลักษณะเป็นสากล ส่วน “Jus civile” คือกฎหมายบ้านเมืองเพราะมีลักษณะเฉพาะ แต่บางครั้งก็ตีความกันไปว่า “Jus gentium” คือกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วน “Jus civile” คือกฎหมายภายใน
                   ในสมัยกลางคริสต์ศาสนาเริ่มรุ่งเรืองขึ้น ศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาอยู่ที่กรุงโรมซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 เป็นปรัชญาเมธีคนแรกที่กล่าวอ้างถึงกฎหมายธรรมชาติว่ามีอยู่จริง แต่เป็นกฎหมายตามคำสอนในทางคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายโรมันคาธอลิค กล่าวอีกนัยหนึ่งคำว่า “ธรรมชาติ” (nature) ในที่นี้ก็คือ “พระผู้เป็นเจ้า” (God) นั่นเอง
                   นักบุญโธมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) เป็นปรัชญาเมธีทางกฎหมายธรรมชาติที่สำคัญอีกผู้หนึ่ง นักบุญผู้นี้อธิบายปรัชญากฎหมายธรรมชาติอย่างละเอียดชัดเจนที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อไควนัส กล่าวว่ากฎหมายของมนุษย์ที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายธรรมชาติย่อมไม่มีสภาพบังคับอย่างกฎหมาย (A human law that disagrees with natural law does not have the force of law) อไควนัสยืนยันในความคิดเห็นของพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ที่ว่ากฎหมายธรรมชาติคือกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า โดยอธิบายว่า บัญญัติสิบประการในคริสต์ศาสนาเป็นแม่บทของกฎหมายทั่วโลกหรือเป็นบทบัญญัติสากล กล่าวได้ว่า อไควนัสเป็นผู้นำเอาทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติเข้ามารวมกับหลักธรรมในทางคริสศาสนา และได้วางรากฐานเป็นปึกแผ่นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
                   ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติเป็นที่นิยมกันมาก และถูกนำมาสนับสนุนความเห็นของผู้อ้างมาก นับแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อการปฏิวัติเพื่อล้มล้างอำนาจอธรรมของประมุข ไม่ว่าในอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1776 ในฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1789 หรือในรุสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1917 ก็ตาม



ที่มา : http://mommamsoftware.fix.gs

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฎหมายกับจารีตประเพณี

กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้
          กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี มีหลายประการด้วยกัน แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข  ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย เช่น การที่สามีภริยาไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน โดยภริยาไปมีชู้ซึ่งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม กฎหมายก็อาจจะบัญญัติถึงผลของการมีชู้ว่าให้สามีฟ้องหย่าจากภรรยาได้เป็นต้น สำหรับศาสนานั้นก็อาจจะมีข้อห้ามของศาสนาที่นำเอามาบัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น ศาสนาพุทธ การห้ามลักทรัพย์ที่มีอยู่ในศีล 5 ก็นำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายได้







ที่มา : http://www.baanjomyut.com