คำถามในลักษณะนี้ไม่ค่อยจะปรากฏบ่อยครั้งนักในหมู่นักกฎหมาย หรือแวดวงทางด้านนิติศาสตร์ อันเนื่องมาจากจารีตของการศึกษา และวงวิชาการทางด้านนิติศาสตร์ของไทยมักให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจต่อกฎหมาย ในฐานะที่จะเป็นผู้ใช้กฎหมายต่อไป ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นเพียงแค่การเรียนรู้กฎหมายในระดับของผู้ปฏิบัติงาน ที่ต้องการรู้เพียงว่ากฎหมายในเรื่องนั้นเป็นอย่างไร ตีความกันอย่างไร โดยไม่สนใจจะตั้งคำถามต่อไปว่ากฎหมายนั้นมีความเป็นธรรมหรืออคติบางอย่างแอบแฝงหรือไม่
บทความนี้ต้องการเสนอให้เห็นว่า ระบบกฎหมายโดยเฉพาะในสังคมไทยนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นกลางหรือปราศจากอคติใดๆ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ที่เต็มไปด้วยความลำเอียง ในบางประเด็นอาจปรากฏเด่นชัดออกมาเป็นรูปธรรมผ่านตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในบางประเด็นอาจมีความซับซ้อนจนต้องพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนจึงจะสามารถมองเห็นมายาคติที่แอบแฝงอยู่อย่างกว้างขวาง
โดยอคติที่สำคัญ 4 ประการในระบบกฎหมายไทยนั้น ประกอบด้วยอคติทางเพศ อคติต่อคนพิการ อคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ และอคติต่อคนจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น