ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย (ย่อ: ป.วิ.อ.) เป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาประมวลกฎหมายที่รัฐบาลไทย (แต่ครั้งที่ยังเรียกชื่อประเทศว่า "สยาม") เร่งผลิตใช้ เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศ อันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล
ในการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยนั้น คณะกรรมการยกร่างบันทึกว่า ได้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งอัฟริกาใต้ (อังกฤษ: South African Code of Criminal Procedure) ซึ่งอยู่ใน รัฐบัญญัติฉบับที่ 51 ค.ศ. 1977 (อังกฤษ: Act 51 of 1977) ของประเทศอัฟริกาใต้ เป็นแม่แบบ[2] อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์แล้ว กลับพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยมีบทบัญญัติเหมือนกับ "เคะอิจิโซะโชโฮ" (ญี่ปุ่น: 刑事訴訟法; โรมะจิ: Keiji Soshō Hō) หรือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศญี่ปุ่น ถึงร้อยละเก้าสิบ โครงการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เริ่มใน พ.ศ. 2477 ภายหลังประกาศใช้บรรพสุดท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปีนั้น ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร แล้วเสร็จในปีเดียวกัน และประกาศใช้โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีรุ่งขึ้น ให้แทนที่บรรดาพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญาที่ประกาศใช้เป็นการชั่วคราวก่อนหน้านี้ ตราบปัจจุบัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีโครงสร้างแบ่งเป็นเจ็ดภาค คือ ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น, ภาค 2 สอบสวน, ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น, ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา, ภาค 5 พยานหลักฐาน, ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม และภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ ตามลำดับ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับใน พ.ศ. 2478 จวบจนบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด เจ็ดภาค สิบสองลักษณะ และยี่สิบเอ็ดหมวด ดังต่อไปนี้
ในการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยนั้น คณะกรรมการยกร่างบันทึกว่า ได้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งอัฟริกาใต้ (อังกฤษ: South African Code of Criminal Procedure) ซึ่งอยู่ใน รัฐบัญญัติฉบับที่ 51 ค.ศ. 1977 (อังกฤษ: Act 51 of 1977) ของประเทศอัฟริกาใต้ เป็นแม่แบบ[2] อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์แล้ว กลับพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยมีบทบัญญัติเหมือนกับ "เคะอิจิโซะโชโฮ" (ญี่ปุ่น: 刑事訴訟法; โรมะจิ: Keiji Soshō Hō) หรือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศญี่ปุ่น ถึงร้อยละเก้าสิบ โครงการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เริ่มใน พ.ศ. 2477 ภายหลังประกาศใช้บรรพสุดท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปีนั้น ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร แล้วเสร็จในปีเดียวกัน และประกาศใช้โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีรุ่งขึ้น ให้แทนที่บรรดาพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญาที่ประกาศใช้เป็นการชั่วคราวก่อนหน้านี้ ตราบปัจจุบัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีโครงสร้างแบ่งเป็นเจ็ดภาค คือ ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น, ภาค 2 สอบสวน, ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น, ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา, ภาค 5 พยานหลักฐาน, ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม และภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ ตามลำดับ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับใน พ.ศ. 2478 จวบจนบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด เจ็ดภาค สิบสองลักษณะ และยี่สิบเอ็ดหมวด ดังต่อไปนี้
ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ 1 หลักทั่วไป
ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน
หมวด 3 อำนาจศาล
ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา
หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ลักษณะ 4 หมายเรียก และหมายอาญา หมวด 1 หมายเรียก
หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป
ส่วนที่ 2 หมายจับ
ส่วนที่ 3 หมายค้น
ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย
ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด 1 จับ ขัง จำคุก
หมวด 2 ค้น
หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว
ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน
หมวด 3 อำนาจศาล
ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา
หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ลักษณะ 4 หมายเรียก และหมายอาญา หมวด 1 หมายเรียก
หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป
ส่วนที่ 2 หมายจับ
ส่วนที่ 3 หมายค้น
ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย
ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด 1 จับ ขัง จำคุก
หมวด 2 ค้น
หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว
ภาค 2 สอบสวน
ลักษณะ 1 หลักทั่วไป
ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ
หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ
ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ
หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ
ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญา และไต่สวนมูลฟ้อง
ลักษณะ 2 การพิจารณา
ลักษณะ 3 คำพิพากษา และคำสั่ง
ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา
ลักษณะ 2 การพิจารณา
ลักษณะ 3 คำพิพากษา และคำสั่ง
ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา
ลักษณะ 1 อุทธรณ์
หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นอุทธรณ์
ลักษณะ 2 ฎีกา หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นอุทธรณ์
ลักษณะ 2 ฎีกา หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา
ภาค 5 พยานหลักฐาน หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 พยานบุคคล
หมวด 3 พยานเอกสาร
หมวด 4 พยานวัตถุ
หมวด 5 ผู้เชี่ยวชาญ
ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม
หมวด 2 พยานบุคคล
หมวด 3 พยานเอกสาร
หมวด 4 พยานวัตถุ
หมวด 5 ผู้เชี่ยวชาญ
ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม
หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา
หมวด 2 ค่าธรรมเนียม
ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ
หมวด 2 ค่าธรรมเนียม
ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น