LAW FOOTBALL CLUB

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายมีความเป็นกลางในตัวเองจริงหรือ?

คำถามในลักษณะนี้ไม่ค่อยจะปรากฏบ่อยครั้งนักในหมู่นักกฎหมาย หรือแวดวงทางด้านนิติศาสตร์ อันเนื่องมาจากจารีตของการศึกษา และวงวิชาการทางด้านนิติศาสตร์ของไทยมักให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจต่อกฎหมาย ในฐานะที่จะเป็นผู้ใช้กฎหมายต่อไป ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นเพียงแค่การเรียนรู้กฎหมายในระดับของผู้ปฏิบัติงาน ที่ต้องการรู้เพียงว่ากฎหมายในเรื่องนั้นเป็นอย่างไร ตีความกันอย่างไร โดยไม่สนใจจะตั้งคำถามต่อไปว่ากฎหมายนั้นมีความเป็นธรรมหรืออคติบางอย่างแอบแฝงหรือไม่
บทความนี้ต้องการเสนอให้เห็นว่า ระบบกฎหมายโดยเฉพาะในสังคมไทยนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นกลางหรือปราศจากอคติใดๆ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ที่เต็มไปด้วยความลำเอียง ในบางประเด็นอาจปรากฏเด่นชัดออกมาเป็นรูปธรรมผ่านตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในบางประเด็นอาจมีความซับซ้อนจนต้องพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนจึงจะสามารถมองเห็นมายาคติที่แอบแฝงอยู่อย่างกว้างขวาง
โดยอคติที่สำคัญ 4 ประการในระบบกฎหมายไทยนั้น ประกอบด้วยอคติทางเพศ อคติต่อคนพิการ อคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ และอคติต่อคนจน

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใดๆ"[2]
ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน ค.ศ. 1894 ว่า "ในความเสมอภาคอันสูงส่งของมัน กฎหมายห้ามมิให้ทั้งคนรวยและจนนอนใต้สะพาน ขอทานบนท้องถนนและขโมยแถวขนมปังอย่างเดียวกัน"[3] ในประชาธิปไตยตามแบบ สถาบันกลางสำหรับการตีความและบัญญัติกฎหมาย คือ สามฝ่ายหลักของรัฐบาล ได้แก่ ฝ่ายตุลาการอันไม่ลำเอียง ฝ่ายนิติบัญญัติอันเป็นประชาธิปไตย และฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการนำกฎหมายไปปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนให้บริการแก่สาธารณชน ระบบราชการหรือรัฐการของรัฐบาล คือ ทหารและตำรวจนั้นสำคัญ แม้องค์กรของรัฐทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกฎหมายและถูกผูกพันด้วยกฎหมาย แต่วิชาชีพทางกฎหมายอิสระและประชาสังคมก็แจ้งและสนับสนุนความก้าวหน้าขององค์กรเหล่านี้

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย


 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือ พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) กับ เจ้าจอมมารดากลับ ประสูติเมื่อวันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๑๗ ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกที่สำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) และทรงศึกษาภาษาอังกฤษขั้นต้นในสำนักครูรามสามิ จากนั้นไปศึกษาภาษาไทยต่อที่สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่นเปรียญ) และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นอาจารย์ผู้สอน เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๑๐ ชันษา ทรงเข้าพิธีโสกันต์ ในปีถัดมาทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระหว่างที่ทรงผนวชได้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไป ด้วยทรงจำพระวินัยสงฆ์ได้อย่างแม่นยำชนิดพระสงฆ์ที่บวชเรียนมาแล้วหลายพรรษา ก็ยังไม่สามารถท่องจำวินัยสงฆ์ได้แม่นยำเช่นพระองค์ท่าน

        หลังจากทรงลาผนวชแล้วได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๓ ปี พระองค์ทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียง แค่ ๑๔ ชันษา แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้ทรงเข้าศึกษาต่อ เนื่องจากติดข้อบังคับที่ว่าพระชนมายุไม่ถึง ๑๘ ชันษา แต่ทรงเสด็จไปขอร้องเป็นกรณีพิเศษต่อทางมหาวิทยาลัยโดยอ้างว่า “คนไทยเกิดง่ายตายเร็ว” สุดท้ายมหาวิทยาลัยยินยอมให้สอบอีกครั้ง ซึ่งทรงสอบได้และศึกษาต่อจนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมายชั้นเกียรตินิยม ภายในเวลา ๓ ปี ด้วย พระชนมายุเพียง ๑๗ ชันษาเท่านั้น นับเป็นบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุด

        เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยทรงเข้ารับราชการที่กรม ราชเลขานุการ ไม่ช้าก็ทรงสามารถทำงานได้ทุกตำแหน่งในกรม จนเป็นที่ยกย่องของข้าราชการในกรมอย่างยิ่ง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ในขณะเดียวกันทรงมีตำแหน่งเป็นสภานายกพิเศษจัดตั้งศาลมณฑลและศาลเมือง (ศาลจังหวัด) ขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้งศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาขึ้นเป็นแห่งแรก แม้ว่าในช่วงเวลานั้นจะมีคดีความในศาลคั่งค้างอยู่มาก แต่ก็ทรงตัดชำระความด้วยพระองค์เองจนเสร็จสิ้นภายในเวลาอันรวดเร็วได้อย่าง ถูกต้องและเที่ยงธรรม สร้างความเลื่อมใสและศรัทธาแก่ประชาชนทุกคน

        จากพระวิริยะอุตสาหะ ตลอดจนพระปรีชาสามารถที่ได้ทรงงานเพื่อพัฒนาวงการศาลยุติธรรมไทยให้ได้ มาตรฐานสากล ครั้นเมื่อตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมว่างลงเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ต่างเห็น พ้องต้องกันในการทูลเกล้าฯถวายพระนามพระองค์ท่านขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวง ยุติธรรม ด้วยพระชนมายุเพียง ๒๒ ชันษาเท่านั้น นับเป็นเสนาบดีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยหรือประวัติศาสตร์โลกก็ ว่าได้ แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพตลอดระยะเวลา ๑๔ ปี ระหว่างดำรงตำแหน่งเสนาบดีได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของประเทศไทยให้มีความเจริญรุดหน้าเทียบเท่านานาอารยประเทศ จนทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ด้วยพระปณิธานสูงสุดในการทรงงาน ๒ ประการ คือ การมีผู้พิพากษาที่ดีมีคุณธรรม กับการพัฒนากฎหมายไทย

        ทรงเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นในประเทศไทยเป็น ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยให้เหตุผลในการก่อตั้งว่า การที่จะดำเนินการกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปอย่างราบรื่นจำเป็นต้องมีจำนวน ผู้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเพิ่มขึ้น และวิธีการที่จะทำให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นคือ การเปิดสอนวิชากฎหมายให้เป็นที่แพร่หลาย จึงเป็นที่มาของโรงเรียนสอนกฎหมาย แต่ในขณะนั้นประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย พระองค์จำเป็นต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนด้วยพระองค์เองทุกวิชา พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิตขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้นำความรู้ที่เรียนมาไปรับราชการเป็นการช่วยแบ่ง เบาพระภาระที่มีจำนวนมาก

        ปัญหาอีกประการหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ การเพิ่มจำนวนของศาลกงสุลต่างชาติใน เมืองไทย ดังนั้น เมื่อเกิดคดีความ หรือข้อโต้แย้งระหว่างชาวต่างชาติกับคนไทยขึ้น คนไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะชาวต่างชาติอ้างว่ากฎหมายไทยล้าหลังไม่ ทันสมัย ต้องขึ้นศาลกงศุลต่างชาติเพื่อพิจารณาคดี ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะ รับข้อกฎหมายใหม่ๆ ในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็น ผู้พิพากษา ส่งผลให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาวิชากฎหมายไทยและ ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้ศาลไทยได้รับความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับมีการยกเลิกศาลกงสุลและยินยอมให้คนชาติมาขึ้นศาลไทย

        สำหรับการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น พระองค์ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรด เกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนด บทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อสะดวกต่อการพิจารณาคดี คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ โดยทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการในการชำระกฎหมายด้วยพระองค์เอง จนประสบความสำเร็จเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ทั้งนี้ เมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกต่อการศึกษาและให้มีการตีความที่ตรงกับเจตนารมณ์ของผู้ร่างอันถือ เป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบัน ต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่ง ได้ยกฐานะเป็นกรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน

        ผลจากการที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อประเทศมาเป็นระยะเวลานาน พระองค์ทรงประชวรในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ด้วยพระอาการปวดพระเศียร จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะโปรดเกล้าฯให้ทรงหยุดพักรักษาพระองค์ได้ แต่พระอาการประชวรยังไม่ดีขึ้น ถึงกระนั้นก็ตามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระองค์ท่านก็ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิราชในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และทรงเลื่อนพระอิสริยะศักดิ์เป็นพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในปีเดียวกัน พระองค์ทรงประชวรหนักขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะจำเป็นต้องเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๖๓ รวมพระชนมายุได้ ๔๗ ชันษา นับว่าเป็นการสูญเสียที่สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ประชาชนและข้าราชการศาล ยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

        เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ เนติบัณฑิตยสภากำหนดให้วันที่ ๗ สิงหาคมเป็น “วันรพี” พร้อมทั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุสรณ์เป็นประจำทุกปีจนถึงทุกวันนี้



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    * สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลยุติธรรม





          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๘ บัญญัติว่า “ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงเปรียบเสมือนเป็น “ศาลทั่วไป” ซึ่ง อาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ เห็นว่าเป็นศาลหลักของประเทศ  ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารเปรียบเสมือนเป็น “ศาลเฉพาะ” กล่าวคือ คดีใดเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลทหาร บุคคลผู้ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็จะต้องเสนอคดีต่อศาลนั้น และคดีนั้นย่อมมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีใดมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลเฉพาะแล้ว คดีนั้นย่อมเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลทั่วไป

ที่มา : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลทหาร





       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๘ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
       พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๖ แบ่งศาลทหารออกเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด
       สำหรับศาลทหารชั้นต้น พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๗ แบ่งออกเป็นศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร
       พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
       แต่คดีต่อไปนี้ ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔
           ๑)     คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
           ๒)     คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
           ๓)     คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
           ๔)     คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
       คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๕ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๙๖/๒๕๔๑)
       บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ กำหนดไว้ ดังนี้
           ๑)     นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
           ๒)     นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามกฎหมายอาญาทหาร
           ๓)     นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
           ๔)     นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
           ๕)     ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำการอยู่ในหน่วยทหาร
           ๖)     พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร
           ๗)    บุคคลที่ต้องขัง หรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
           ๘)     เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร      
      นอกจากนี้ ยังมีศาลทหารในกรณีไม่ปกติ เรียกว่า “ศาลอาญาศึก” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อมีการรบ การสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ (ซึ่งกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ตั้งอยู่กับหน่วยทหารหรือเรือรบในยุทธบริเวณทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีเขตอำนาจเฉพาะหน่วยทหารที่อยู่ในยุทธบริเวณ  มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ซึ่งจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจนั้น โดยไม่จำกัดตัวบุคคลและอัตราโทษ เมื่อศาลอาญาศึกพิพากษาแล้วไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาใด ๆ ทั้งสิ้น

ที่มา : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลปกครอง



           แต่เดิมนั้น ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลเดี่ยว ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ รวมทั้งคดีปกครอง ภายหลังเมื่อประเทศไทยได้ปฏิรูปการเมืองโดยการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ขึ้น รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลอื่น ๆ ในลักษณะศาลคู่ ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ โดยเริ่มจัดตั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดขึ้นพร้อมกันในวันดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเป็นการที่ประเทศไทยเริ่มต้นใช้ระบบศาลคู่และมีหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลอย่างเป็นรูปธรรมโดยผลของพระราชบัญญัติดังกล่าว      
          ปัจจุบัน ศาลปกครองมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชั้น ได้แก่ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น แต่ในอนาคตอาจจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดอำนาจของศาลปกครองไว้ใน มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยบัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
       อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น”
       จากถ้อยคำตอนท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” นั้น อำนาจของศาลปกครองมีเป็นประการใดจึงพิจารณาได้จากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นสำคัญ ซึ่งมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ได้แยกประเภทคดีปกครองออกเป็น ๖ ประเภท  ดังนี้
       ๑)     คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำฝ่ายเดียวของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ
          คดีที่มีการฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอาจเป็นการฟ้องในเรื่องคำสั่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คำสั่งทางปกครอง” หรืออาจเป็นกรณีที่กฎหรือการกระทำอื่นใดของทางราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       ๒)     คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
       ๓)     คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
       ๔)     คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
       ๕)     คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ
       ๖)     คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
       ส่วนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งการบัญญัติไว้ดังกล่าว มีความมุ่งหมายที่จะกำหนดข้อยกเว้นเฉพาะคดีที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งเข้าข่ายเป็นการดำเนินการตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลตาม (๓) ไม่ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง  คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองจึงอาจสรุปได้ดังนี้
       ๑)     การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา ๙ วรรคสอง (๑))
       ๒)     การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๒))
       ๓)      คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๓))
       ๔)     คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ
ที่มา : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลรัฐธรรมนูญ





       ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งอย่างศาลอื่น โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในหมวด ๑๐ ส่วนที่ ๒
       ศาลรัฐธรรมนูญมีเพียงศาลเดียว ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๘ คน รวมเป็น ๙ คน
       ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี้
              ๑.๑ พิจารณาวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองใด จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ (มาตรา ๖๕ วรรคสาม)
              ๑.๒ วินิจฉัยสั่งการให้บุคคลหรือพรรคการเมืองเลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งและวรรคสอง)
             สั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำการดังกล่าว (มาตรา ๖๘ วรรคสาม) ซึ่งมีผลให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำการดังกล่าวเป็นระยะเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง (มาตรา ๖๘ วรรคท้าย)
             ๑.๓ วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๑) หรือมาตรา ๑๑๙ (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี หรือไม่ (มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง)
             ๑.๔ วินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใด พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสิ้นสุดลงนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม หรือไม่ (มาตรา ๑๐๖ (๗))
            ๑.๕ พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๔๑)
            ๑.๖ วินิจฉัยว่า ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดตามมาตรา ๑๔๗ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้หรือไม่ (มาตรา ๑๔๙)
            ๑.๗  พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๔)
            ๑.๘ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๕)
            ๑.๙ พิจารณาวินิจฉัยว่า ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ ได้มีการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่ (มาตรา ๑๖๘ วรรคเจ็ด)
            ๑.๑๐ วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘๒ (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) หรือไม่ (มาตรา ๑๘๒ ประกอบมาตรา ๙๑ และมาตรา ๙๒)
            ๑.๑๑ วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดตราให้ใช้บังคับเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่ หรือได้ตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ (มาตรา ๑๘๕)
            ๑.๑๒ วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาว่า หนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศฉบับใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่ (มาตรา ๑๙๐)
            ๑.๑๓ พิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๑)
            ๑.๑๔ วินิจฉัยคำร้องจากบุคคลซึ่งอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๒)
            ๑.๑๕ พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป (มาตรา ๒๑๔)
            ๑.๑๖ วินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๓๐ หรือไม่ (มาตรา ๒๓๓)
            ๑.๑๗        พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอพร้อมด้วยความเห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๔๕ (๑))
           ๑.๑๘ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอพร้อมด้วยความเห็น ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๗ (๒))

ที่มา : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ระบบศาลในประเทศไทย




                  การปกครองประเทศในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก “หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย” กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ฝ่าย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
       อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เรียกว่า “กฎหมาย” เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนในรัฐ
       อำนาจบริหาร คือ อำนาจหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศโดยนำเอากฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติไปบังคับใช้กับประชาชน
       อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตรวจสอบว่า กฎหมายต่าง ๆ ได้รับการเคารพและปฏิบัติตามหรือมีการละเมิดกฎหมายเหล่านั้นหรือไม่      
       ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและรับหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓ วรรคแรก บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” อาจกล่าวได้ว่า องค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายนั้น ได้แก่ รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
         อย่างไรก็ตาม นอกจากองค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายดังกล่าวแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังได้กำหนดขึ้นไว้ในหมวด ๑๑ ให้มีองค์กรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรหลักทั้งสามนั้น เรียกว่า “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” โดยแบ่งออกเป็น “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” ๔ องค์กร และ “องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ” อีก ๓ องค์กร รวมเป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ทั้งสิ้น ๗ องค์กร
       องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๑ ประกอบด้วย
               องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ๔ องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ๓ องค์กร ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       ดังนั้น ในปัจจุบัน องค์กรหลักของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
       ๑)  รัฐสภา
       ๒)  คณะรัฐมนตรี
       ๓) ศาล
       ๔)  องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
        
        ศาล จึงเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่สำคัญในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใช้ “อำนาจตุลาการ” โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๐ ว่าด้วย ศาล กำหนดให้มีศาลทั้งสิ้น ๔ ระบบ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
        การจำแนกรูปแบบของระบบศาลในต่างประเทศนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบ “ศาลเดี่ยว” และระบบ “ศาลคู่”
       ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
       ระบบศาลคู่ เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว ข้อพิจารณาของระบบศาลคู่ คือ การแยกระบบของผู้พิพากษาและการแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
       การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแบ่งระบบศาลออกเป็น ๔ ระบบ เช่นนี้แสดงว่า ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละคดีได้รับการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและลักษณะคดีแต่ละประเภทเหล่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดตัดสิน ด้วยวิธีพิจารณาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ปัญหาใดอันเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อาจวินิจฉัยโดยศาลธรรมดาได้ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย

ที่มา :  http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

กฎหมายในชีวิตประจำวัน







      กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
      กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล       บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
     
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี                ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้ บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
   1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
          ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
            1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
            2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
            3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
            4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
    2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น
ทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
     ประเภทของทรัพย์สิน
        1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
        2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

  นิติกรรม
        นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
     1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
     3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
     1. นิติกรรมที่เป็น  โมฆะ    คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
     2. นิติกรรมที่เป็น  โมฆียะ    คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
        นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ

สัญญาต่าง ๆ
ประเภทของสัญญา
      สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
      1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
      2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
      3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
      สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
      1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
      2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
      3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก          และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน          ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
      4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
           - ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
           - ผู้ทอดตลาด 
           - ผู้สู้ราคา      
           - ผู้ซื้อ
     
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
      1. สัญญาเช่าทรัพย์
            - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
            - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
      2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ         โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย


กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา












                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย  (ย่อ: ป.วิ.อ.)  เป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาประมวลกฎหมายที่รัฐบาลไทย (แต่ครั้งที่ยังเรียกชื่อประเทศว่า "สยาม") เร่งผลิตใช้ เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศ อันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล
               ในการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยนั้น คณะกรรมการยกร่างบันทึกว่า ได้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งอัฟริกาใต้ (อังกฤษ: South African Code of Criminal Procedure) ซึ่งอยู่ใน รัฐบัญญัติฉบับที่ 51 ค.ศ. 1977 (อังกฤษ: Act 51 of 1977) ของประเทศอัฟริกาใต้ เป็นแม่แบบ[2] อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์แล้ว กลับพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยมีบทบัญญัติเหมือนกับ "เคะอิจิโซะโชโฮ" (ญี่ปุ่น: 刑事訴訟法; โรมะจิ: Keiji Soshō Hō) หรือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศญี่ปุ่น ถึงร้อยละเก้าสิบ  โครงการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เริ่มใน พ.ศ. 2477 ภายหลังประกาศใช้บรรพสุดท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปีนั้น ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร แล้วเสร็จในปีเดียวกัน และประกาศใช้โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีรุ่งขึ้น ให้แทนที่บรรดาพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญาที่ประกาศใช้เป็นการชั่วคราวก่อนหน้านี้ ตราบปัจจุบัน
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีโครงสร้างแบ่งเป็นเจ็ดภาค คือ ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น, ภาค 2 สอบสวน, ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น, ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา, ภาค 5 พยานหลักฐาน, ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม และภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ ตามลำดับ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับใน พ.ศ. 2478 จวบจนบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด เจ็ดภาค สิบสองลักษณะ และยี่สิบเอ็ดหมวด ดังต่อไปนี้
 ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น
 ลักษณะ 1 หลักทั่วไป
 ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด 1 หลักทั่วไป
 หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน
 หมวด 3 อำนาจศาล
 ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา
 หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
 ลักษณะ 4 หมายเรียก และหมายอาญา หมวด 1 หมายเรียก
 หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป
 ส่วนที่ 2 หมายจับ
 ส่วนที่ 3 หมายค้น
 ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย
 ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด 1 จับ ขัง จำคุก
 หมวด 2 ค้น
 หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว
 
 ภาค 2 สอบสวน
 ลักษณะ 1 หลักทั่วไป
 ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ
 หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ
 
  ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
  ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญา และไต่สวนมูลฟ้อง
  ลักษณะ 2 การพิจารณา
  ลักษณะ 3 คำพิพากษา และคำสั่ง

   ภาค 4 อุทธรณ์ และฎีกา
   ลักษณะ 1 อุทธรณ์
   หมวด 1 หลักทั่วไป
   หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นอุทธรณ์
   ลักษณะ 2 ฎีกา หมวด 1 หลักทั่วไป
   หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา
 
   ภาค 5 พยานหลักฐาน หมวด 1 หลักทั่วไป
   หมวด 2 พยานบุคคล
   หมวด 3 พยานเอกสาร
   หมวด 4 พยานวัตถุ
   หมวด 5 ผู้เชี่ยวชาญ

   ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม
   หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา
   หมวด 2 ค่าธรรมเนียม

   ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง






                                                         





                 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่เป็นขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการพิจารณาในศาลในคดีแพ่ง ตั้งแต่เริ่มฟ้องจนถึงการพิพากษาและรวมถึงการบังคับคดีด้วย











กฎหมายแพ่งและพานิชย์

                                                               




                                                             





                   กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน  กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            
                ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า  "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"  แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก  เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น 

ที่มา : http://tutorlaw.exteen.com/20080423/entry-7

กฎหมายอาญา

                                                                     




                                                                                                 

                



                 กฎหมายอาญา  คือ  กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตัวบทที่สำคัญๆของกฎหมายอาญาก็คือ  ประมวลกฎหมายอาญา  นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้วยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น  เช่น  พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น  ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ

1. ความผิดทางอาญา
                ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
                2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
                2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้

3. โทษทางอาญา
                1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
                2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
                3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
                4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
                5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ

4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
                บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
                กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
                อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
                1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
                2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
                โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
                เหตุยกเว้นโทษทางอาญา  
                การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
                    1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
                    2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
                    3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
                    4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
                    5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
                    6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด

6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
                เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
            สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
                    6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
                    6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
                            1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
                            2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                            3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
                            6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
                            7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
                    6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
                    6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3  หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
                กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3
สรุปสาระสำคัญ
                    1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
                    2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
                    3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
                    4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
                    5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3. กักขัง 4. ปรับ
                                5. ริบทรัพย์สิน
                    6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                    7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
                    8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                    9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                            4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

สรุปสาระสำคัญ                   
 1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
              
 2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
              
 3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
              
 4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
             
  5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3. กักขัง 4. ปรับ
                                5. ริบทรัพย์สิน
                   
6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
              
 8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                   
9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                            4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

กฎหมายสี่มุมเมือง










กฎหมายสี่มุมเมืองแยกออกได้ ดังนี้

1. กฎหมายอาญา
2. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
4. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา