พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย "
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วัพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417 เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน
ที่มา : http://www.thailandroad.com/