LAW FOOTBALL CLUB

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติศาสตร์

        หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน
การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน
หลายคนคิดว่า นิติ..เรียนจบแล้ว ไปทำอะไรกิน จบไปก้อตกงาน แต่จริงๆแล้ว เส้นทางการประกอบอาชีพของคนที่เรียนจบนิติศาสตร์ มีมากกว่า 300 สาขาอาชีพเลยนะ หลายคนอาจยังไม่เคยรู้นิติศาสตร์ มีเส้นทางการประกอบอาชีพให้เลือกเดิน แบ่งเป็น 2 สายใหญ่ๆ ได้แก่
1. สายข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตำรวจ เป็นต้น หรือที่ไม่ใช่ข้าราชการแต่เป็นเจ้าพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานราชการ เช่น นิติกรประจำหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ประจำศาล เป็นต้นค่ะ อาชีพในเส้นทางสายนี้ เหมาะกับคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต แต่ก้อเป็นที่ทราบกันดีว่า อาชีพข้าราชการนั้น ไม่ได้ตอบสนองในเรื่องรายได้สูงมากมายนัก แต่สำหรับข้าราชการในสายตุลาการ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ นี้ ถือว่าเป็นข้าราชการที่เงินเดือนสูงที่สุดเลยก้อว่าได้ เพดานเงินเดือนอาจสูงถึงหลักแสนกันเลยทีเดียวนะคะ แต่คนจะทำอาชีพเหล่านี้ได้ ต้องมีความยุติธรรม และมีคุณธรรมในหัวใจสูงมากๆเลยนะคะ ไม่งั้น บ้านเมืองคงแย่มากมายเลยล่ะค่ะ
2. สายเอกชน อันได้แก่ การทำงานในบริษัท Law Firm สำนักงานทนายความ เป็นต้น อาชีพในเส้นทางสายนี้ สามารถสร้างความร่ำรวยให้กับคุณได้ตามที่คุณต้องการเลยค่ะ แต่ก้อต้องแลกกับการทำงานหนัก ความรับผิดชอบอย่างสูง การเสียความเป็นส่วนตัว เพราะงานในสายนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า หินแค่ไหน แต่มานก้อม่ายเกินความสามารถหรอกนะคะ โดยเฉพาะ ถ้าคุณเป็นคนชอบความท้าทายและการแข่งขันอยู่แล้วด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายเส้นทางให้คุณเลือกเดิน อาทิเช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น





ที่มา:โดยน.ส.ยุภาพรรณ


ความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของ โทมัส ฮอบส์

จุดมุ่งหมายและเนื้อหาของปรัชญา
ฮอบส์มีความคิดว่า ปรัชญามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ คือ มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มนุษย์นั่นเอง ความรู้ทางปรัชญาและวิชาการต่างๆ คือ อำนาจ คือสามารถทำให้มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติได้ คุณค่าของความรู้จึงอยู่ที่ทำให้มนุษย์มีอำนาจ

ความรู้ทางปรัชญาคือความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและผล ของปรากฏการณ์ทั้งหลาย เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล เนื้อหาของปรัชญาจำกัดอยู่ที่การศึกษาเกี่ยวกับสสารและการเคลื่อนที่ของสสาร ปรัชญาของฮอบส์จึงเป็นปรัชญาสสารนิยม

อภิปรัชญา
ความคิดของฮอบส์นั้นเป็นแบบสสารนิยมหรือวัตถุนิยมหรือวัตถุนิยม เชื่อว่า สิ่งที่เป็นจริงต้องมีตัวตนซึ่งได้แก่สสาร ยังถือว่าสสารต้องมีการเคลื่อนที่หรือการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของสสารทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เราสามารถศึกษาได้หลายแง่มุมจนเกิดเป็นวิชาการต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้กฎของความเป็นเหตุเป็นผล มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว เรียกว่า กฎกลศาสตร์หรือกฎธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยไม่มีสาเหตุ ฮอบส์ไม่ได้คิดว่าพระเจ้าเป็นสาเหตุแรกของสิ่งต่างๆ เพราะพระเจ้าในความหมายที่เป็นสิ่งที่ไร้ตัวตน “ไม่อาจจะเข้าใจได้” นั่นคือไร้ความหมาย หรือไร้สาระ

สสารและการเคลื่อนที่ไหวของสสารนั้นปรากฏชัดแจ้งต่อประสาทสัมผัสของเรา มันจึงเป็นสิ่งที่เรา “เข้าใจได้”
ฮอบส์อธิบายว่า การเคลื่อนไหวของสสารเป็นสาเหตุแรกของปรากฏการณ์ต่างๆ มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว เป็นคำอธิบายที่เรียกว่าเป็นแบบจักรกลนิยม คือ มองว่าทุกสิ่งในโลกดำเนินไปเหมือนการทำงานของเครื่องจักร ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปหมด

สำหรับจิตของมนุษย์ เป็นสสารที่ละเอียดอ่อนตั้งอยู่ที่สมอง และทำงานภายใต้กฎแห่งการเคลื่อนไหวแบบจักรกล ความคิด ความรู้สึก ความสำนึกรู้ ตลอกจนจินตนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวในสมองทั้งสิ้น ทุกอย่างในตัวมนุษย์ต้องดำเนินไปตามกฎกลสาสตร์ที่ว่างไว้แน่นอนแล้ว จิตไม่มีอิสระในการเลือกหรือตัดสินใจทำอะไรตามเจตจำนงของตนเอง ทำได้เพียงตอบสนองต่อแรงผลักดันของอำนาจจากสิ่งเร้าภายนอกเท่านั้น

เราเรียกสิ่งหนึ่งว่า “ดี” ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เราต้องการหรือพอใจ เราเรียกอีกสิ่งหนึ่งว่า “เลว” ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เราเกลียดหรือทำให้เราเจ็บปวด

ความคิดทางอภิปรัชญาของฮอบส์เป็นแบบวัตถุนิยมที่อธิบายความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ต่างๆ ว่าดำเนินไปแบบกลไกหรือจักรกล คือมีระบบระเบียบแน่นอนตายตัว เหมือนการทำงานของเครื่องจักร ฮอบส์นำเอาความคิดจักรกลนิยมไปอธิบายการทำงานของจิตและการทำงานของมนุษย์ สิ่งที่เรียกว่า เสรีภาพหรือเจตจำนงอิสระจึงไม่มีสำหรับมนุษย์ การอธิบายการกระทำของมนุษย์และการงานของจิตมนุษย์ เราเรียกการอธิบายเรื่องนี้ของฮอบส์ว่าเป็นการอธิบายแบบนิตินิยม ปรัชญาของฮอบส์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัตถุนิยมจักรกลนิยม และนิยตินิยม นั้นเดนไปด้วยกันเสมอ

ทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยา

แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ชนิด คือ

    ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นความรู้ที่ได้มาโดยอาศัยประสาทสัมผัสหรืออายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นสื่อให้เราสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ ความรู้ที่ได้มาโดยประสาทสัมผัสนี้เป็นความรู้ที่ไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา แต่อาจมีบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริงของวัตถุที่ถูกรู้เนื่องจากประสาทสัมผัสเราเองมีข้อบกพร่อง

    ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของความรู้ทางปรัชญา ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงมี 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นความประทับใจทางประสาทสัมผัส คือ เป็นการสัมผัสโดยตรงระหว่างประสาทสัมผัสกับวัตถุ
    
    ความรู้เกี่ยวกับความสืบเนื่องของสาเหตุและผล เป็นความรู้ที่ฮอบส์ถือว่าเป็นปรัชญา ปรัชญาคือความรู้เกี่ยวกับผลหรือปรากฏการณ์ที่เราได้โดยการอ้างเหตุผลที่ถูกต้องจากความรู้ที่เรามีอยู่ก่อน เกี่ยวกับสาเหตุหรือที่มาของมัน และเป็นความรู้เกี่ยวกับสาเหตุหรือที่มาที่อาจจะได้จากการรู้ผลของมันก่อน

ฮอบส์ให้ความสำคัญแก่วิธีการนิรนัย คือให้ความสำคัญแก่วิธีการทางคณิตศาสตร์ ระบบปรัชญาของฮอบส์ถูกสร้างขึ้นให้เป็นวิธีการนิรนัย วิธีการนิรนัยของฮอบส์แตกต่างจากพวกเหตุผลนิยม หลักการเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานของการนิรนัยต้องเป็นความรู้เชิงประจักษ์ ได้มาโดยประสบการณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั่นเอง ฮอบส์ย้ำว่า มนุษย์และวิทยาศาสตร์เป็นหนี้บุญคุณคณิตศาสตร์ความก้าวหน้าในวิชาดาราศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยคณิตศาสตร์ และผลประโยชน์ที่ได้มาจากศาสตร์ประยุกต์ได้มาจากคณิตศาสตร์

จริยศาสตร์
เป็นความคิดแบบอัตนิยม มนุษย์กระทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มนุษย์ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนอื่นเพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นี่เองที่เป็นเหตุให้มนุษย์กระทำทุกอย่างเพื่อตนเอง

ความกลัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดสำนึกทางจริยธรรม เกิดการรวมตัวกันเป็นสังคมเป็นรัฐที่มีผู้ที่มีอำนาจในรัฐคอยให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ปรัชญาการเมือง

ธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวต้องการเกียรติยศชื่อเสียง แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว จึงมีการแข่งขันกันไม่ไว้วางใจกัน มนุษย์มีความสามารถเท่าเทียมกันทั้งทางร่างกายและจิตใจ มนุษย์มีความรักตัวกลัวตายอันนี้เป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์ร่วมมือกันนกระทั่งสามารถรวมกันจนเกิดเป็นรัฐขึ้น

มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ
หมายถึง สภาวะก่อนที่จะเกิดรัฐหรือสังคมขึ้น สภาวะนี้เป็นสภาวะที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์

ฮอบส์อธิบายว่า แรงกระตุ้นที่ทำให้มนุษย์กระทำกิจกรรมต่างๆ มีอยู่สองอย่างคืออารมณ์ และเหตุผล ถ้ามนุษย์กระทำตามอารมณ์จะทำให้มนุษย์ตกอยู่ใต้สภาวะสงคราม แต่อารมณ์ก็สามารถทำให้มนุษย์เกิดความกลัวตาย เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องการหลีกเลี่ยงมนุษย์จึงต้องการความสงบ เพราะทำให้เกิดความปลอดภัย เหตุผลทำให้มนุษย์รู้จักกฎเกณฑ์ที่นำไปสู่สันติภาพ ฮอบส์ เรียกว่า กฎธรรมชาติ เป็นกฎทางศีลธรรมที่มนุษย์สำนึกรู้ได้ด้วยเหตุผล เพื่อหนีสภาวะสงคราม เพื่อสันติภาพ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง มนุษย์จึงร่วมมือกันทำสัญญาต่อกันขึ้นเรียกว่า สัญญาประชาคม

สัญญาประชาคม
เป็นสัญญาที่มนุษย์ร่วมกันกระทำขึ้นเพื่อมอบอำนาจและสิทธิของตนให้แก่บุคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดสันติภาพและความปลอดภัยร่วมกัน เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นด้วยกติกาสัญญาของทุกคนกับทุกคนในลักษณะดุจว่าทุกคนควรจะกล่าวกับทุกคนว่า ข้าพเจ้ามอบและสละสิทธิของข้าพเจ้าในการปกครองตัวเองให้แก่คนๆ นี้ หรือกลุ่มนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า ท่านต้องสละสิทธิของท่านให้แก่เขาและมอบอำนาจกระทำการทั้งปวงให้แก่เขาเช่นเดียวกัน เรียกว่า จักรภพ

รัฐเกิดขึ้นด้วยความจำเป็นจากธรรมชาติของมนุษย์ คนหรือกลุ่มคนที่ได้รับมอบอำนาจ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ เป็นผู้ทรงอำนาจสิทธิขาด ใช้อำนาจแทนคนทั้งหมด รัฐเป็นเสมือนคนๆ เดียวเป็นเอกภพ หน้าที่ขององค์อธิปัตย์คือ ออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย รักษาความสงบภายใน องค์อธิปัตย์มีสิทธิที่จะห้ามการแสดงความคิดเห็นหรือการกระทำต่างๆ ของประชาชน ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะร้องเรียนว่า ถูกองค์อธิปัตย์กดขี่ทั้งนี้เพราะถือว่าการกระทำขององค์อธิปัตย์เป็นไปเพื่อลดความเห็นแก่ตัวของประชาชน พยายามทำให้สังคมสงบสุข ประชาชนต้องยินดียึดมั่นในสัญญาที่ให้ไว้







ที่มา : http://www.baanjomyut.com

รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล

          อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้จำนวน และ จุดประสงค์ของการปกครองเป็นเกณฑ์ เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

          1. รูปแบบการปกครองที่ดี
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

          2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
2.1. ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย (Oligachy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

           อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี

          อริสโตเติลได้แสดงความเห็นว่า รูปแบบ Polity นั้น จัดเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และ มีเสถียรภาพมากที่สุด อริสโตเติลได้อธิบายว่า Polity เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ Constitutional Government เป็นรัฐที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกนักบริหาร ซึ่งมีหน้าที่นการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม การปกครองแบบ Polity จะเป็นหลักการประนีประนอม ระหว่างหลักการ 2 อย่างคือ เสรีภาพ และ ทรัพย์สิน เป็นการเชื่อมเสรีภาพของคนจน กับ ทรัพย์สินของคนรวย เพื่อที่อำนาจสูงุดจะได้ไม่อยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย อริสโตเติลยอมรับว่า อำนาจเป็นของประชาชนดีกว่า ที่จะเป็นของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศีลธรรม

          รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ คนรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง กล่าวคือ ถ้าหากชนชั้นกลางมีมาก รัฐก็จะมีเสถียรภาพมาก เพราะเหล่าคนชั้นกลาง จะระงับพลังของคนจน และ คนรวย ที่จะทำลายรูปแบบ Polity แล้วกลับไปสู่รูปแบบ Democracy หรือ Oligachy

          อริสโตเติลยังมีความเห็นว่า คนแต่ละชนชั้นในสังคมนั้น จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง กล่าวคือ คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรพย์สิน คน 2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

          ด้วยเหตุผลดังกล่าว อริสโตเติล จึงเชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคม



ที่มา : http://armzadtt-law.blogspot.com

แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐของเพลโต

          บทสนทนาสามสิบห้าบทและจดหมายอีกสิบสามฉบับคืองานเขียนของเพลโตที่ตดทอดมาถึงเราบทสนทนาส่วนใหญ่ของเพลโตจะเป็นการสนทนาซึ่งจะมีโสกราติสเข้ามาเป็นละครสำคัญเสียส่วนใหญ่ กล่าวคือผลงานของโสกราติสก็ไม่ต่างอะไรกับผลงานของเพลโต บทสนทนาของเพลโตมีทั้งเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นปรัชญา หรืออื่นๆอีกมากมายหลายแขนงวิชา   แต่ที่จะเด่นชัดส่วนจะเป็นเรื่องการเมือง   บทสนทนาของเพลโตทั้งหมดกล่าวถึงปัญหาทางการเมืองไม่มากก็น้อย กระนั้นก็ดี มีบทสนทนาอยู่สามบทเท่านั้นที่มีชื่อบ่งบอกว่าเป็นเรื่องว่าด้วยปรัชญาการเมืองคือ  republic statesman  และ laws  และเราจะเข้าถึงคำสอนทางการเมืองของเพลโตได้โดยผ่านทางผลงานทั้งสามนี้เป็นหลักนั่นเอง  ใน republic  มีการอภิปรายถึงธรรมชาติของความยุติธรรมกับคนกลุ่มใหญ่พอสมควร การสนทนาในลักษณะนี้มักจะเป็นสนทนากับคนที่มีลักษณะจำเพาะ ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการสนทนากับคนที่มีฐานะทางสังคม สันนิษฐานได้ว่าบทสนทนานี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งความเสื่อมโทรมทางการเมืองของเอเธนส์ ผู้ร่วมสนทนามีความห่วงใยเป็นอย่างมากกับความเสื่อมโทรมนั้น และได้คิดถึงการที่จะทำให้การเมืองนั้นดีขึ้นมาได้  โสกราติสได้เสนอโครงการ ปฏิรูปที่ถึงรากถึงโคน  การปฏิรูปนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงปัจเจกเท่านั้น  ใน republic นั้นจะเน้นไปในเรื่องของความยุติธรรม  คุณธรรมสูงสุดในรัฐ และธรรมชาติของมนุษย์ 

                ความยุติธรรมในถูกกล่าวใน  republic เรามาดูกันว่าความยุติธรรมคืออะไร ความยุติธรรมคือ สิ่งเดียวกันกับการพูดความจริง และการคืนสิ่งที่บุคคลได้รับมาจากผู้อื่น การพูดความจริงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความยุติธรรม   อีกความหมายหนึ่ง ความยุติธรรมอยู่ที่การส่งคืนสิ่งที่มีผู้นำมาฝากไว้ กล่าวโดยกว้างๆก็คือ ความยุติธรรมคือการส่งคืน หรือปลดปล่อยหรือมอบสิ่งที่เป็นของเจ้าของให้เจ้าของทุกๆคน  ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ดี นั้นคือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มิเพียงแต่ผู้ให้แต่รวมไปถึงผู้รับด้วย   อีกความหมายหนึ่งความยุติธรรมคือ ผลประโยชน์ของผูที่แข็งแรงกว่า ผู้ที่แข็งแรงกว่าในที่นี้คือผู้ที่แข็งแรงทางสติปัญญา  รู้จักคำว่าพอดีสำหรับตน คนไม่กี่คนเท่านั้นที่จะรู้ว่าความเหมาะสมสำหรับตนมีขอบเขตเท่าใด ความต้องการของคนอยู่ที่ไหน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราได้รู้ว่าเราต้องการมันเพียงไหนนั้น คือสติปัญญาของเรานั่นเอง  จะมีใครสักกี่คนที่จะสามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญ ควรจะมีปริมาณเท่าใดจึงจะดี คนที่สามารถทำเช่นนี้ได้คือผู้ที่มีสตปัญญาที่ดีเท่านั้น  อีกความหมายหนึ่งของคำว่า ความยุติธรรม คือการช่วยมิตรและทำร้ายศัตรู ความยุติธรรมดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ดีอย่างเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ให้ และสำหรับผู้รับที่ดีกับผู้ให้ สิ่งเดียวที่ผู้ที่มีความยุติธรรมจำต้องทราบคือ เมื่อเขามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น อะไรบางที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น  กฎหมายจะเป็นตัวกำหนด ความรู้ในเรื่องนี้  โดยหลักการแล้วผู้ที่ยุติธรรมจะต้องให้เฉพาะสิ่งที่ดีแก่มิตรของตน ผู้ที่มีความยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยได้และแยกแยะออกว่าใครคือมิตร และใครคือศัตรู  ความยุติธรรมต้องเอาความรู้ในลำดับที่สูงเข้าไว้ด้วย ความยุติธรรมต้องเป็นศิลปะ ที่เปรียบเสมือนยาที่คอยรักษาคนให้หายป่วยและทำให้ร่างกายแข็งแรง  ผู้ที่มีความยุติจะช่วยผู้ที่มีความยุติธรรมมากกว่าเพื่อเสมอ  จากที่จะเป็นผู้ที่มีความยุติธรรมไดนั้นอาจไม่ง่ายสำหรับคนบางคน   ความยุติธรรมคือความที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อสาธารณหรือการอุทิศตนเพื่อนครรัฐของตน   ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ดี  ความยุติธรรมจะมีความบริสุทธิ์ในนครรัฐนั้นกฎของรัฐก็ต้องดีด้วย   รูปแบบการปกครองต้องดีด้วย   ความยุติธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อนครรัฐนั้นจะต้องดีด้วย

                กล่าวคือ republic จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า ความยุติธรรม ว่าเป็นเช่นไรมีความหมายอย่างไร ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว  การสร้างรัฐในอุดมคตินั่นเนื่องมาจากว่าคำว่าความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เป็นนามอธรรม รัฐในอุดมคติที่ว่า รัฐที่ดีควรมีราชาปราชญ์เป็นผู้ปกครอง ผู้ที่มีความรู้เข้ามาปกครอง ธรรมของมนุษย์ มนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ร่างกาย และจิตใจ ในที่นี้เราจะไม่กล่าวถึงร่างกายแต่เราจะกล่าวถึงจิตใจ  จิตใจของมนุษย์นั่นอาจจะมีส่วนประกอบอยู่สามสวนคือ ชอบในการเรียน ชอบในเกียรติ ชอบในกามสุข  แต่ทว่าสามส่วนที่กล่าวมานั้น มนุษย์มักจะมีอยู่หนึ่งส่วนที่จะเด่นกว่าส่วนอื่นๆ กล่าวคือ หากมนุษย์ มีคุณสมบัติที่ชอบในการเรียนก็จะเป็นนักปราชญ์ หากชอบในเกียติก็จะเป็นนักรบ หรือข้าราชการ หากชอบในกามสุขก็จะเป็นชนชั้นกลาง  เรามาดูกันต่อว่าตามปรัชญาดังกล่าวนั้นมนุษย์ในแต่ละแบบสมควรที่จะมีบทบาทอย่างไรต่อสังคม  คนที่ชอบในการเรียนก็จะเป็นนักปราชญ์ เหมาะที่จะเป็นผู้ปกครอง  คนที่ชอบในกามสุขมีความต้องการไม่สิ้นสุด หวังผลกำไรเหมาะที่จะเป็นพ้อค้าชนชั้นกลาง  คนที่ชอบในเกียรติ เหมาะที่จะเป็นทหารปกป้องประชากรภายในรัฐ

         การเป็นราชาและรัฐบุรุษล้วนแต่จะเป็นองค์ความรู้ด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นความหมายก็ไม่มีความสำคัญมากเพียงแต่ว่า หากผู้ที่มีความรู้จะมีตำแหน่งสูงเนื่องไดรับจากเลือกให้ดำรงตำแหน่ง  หรือจะมีชีวิตที่เรียบง่าย  ถ้าเช่นนั้นนครรัฐกับครอบครัวก็ไม่มีความแตกต่างกัน  การเป็นราชาหรือรัฐบุรุษนั้นเป็นศิลปะที่เกิดจากการออกกำลัง เพื่อที่จะเข้าใจศิลปะของราชา  การแบ่งสัตว์ออกเป็นสองสายพันธุ์คือ สัตว์ป่าและมนุษย์จึงไม่เพียงพอที่จะอธิบาย การแบ่งเช่นนี้เปนการแบ่งตามอำเภอใจ แต่ไม่ได้แยกตามธรรมชาติ  ศิลปะการแบ่งประเภทหรือแบบ หรือชนชั้นดำเนินไปพร้อมๆกับการฝึกฝนให้รู้จักถ่อมตนและพอประมาณอันที่จริงในธรรมชาติมนุษย์นั้นเท่าเทียมกัน  การปกครองนครรัฐกมจากการแบ่งสัตว์ออกเป็นประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะแบ่งตามฝูงเดียวกันหรือจะนอกฝูง การแบ่งการดูแลตามธรรมชาติ  ดูแลสายพันธุ์เดียวและต่างสายพันธุ์นั้นก็คือการดูแลคนในชนชันเดียวและต่างชนชั้น   การกครองนครรัฐ ตามธรรมชาติแล้วการปกครองย่อมแบ่งออกเป็นการปกครองที่ผู้ใต้การปกครองไม่เต็มใจ และการปกครองแบบผู้ที่อยู่ใต้การปกครองเต็มใจ อย่างแรกคือการปกครองแบบทรราชย์แบบหลังคือการปกครองแบบกษัตริย์

              ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานของเพลโต้ที่ว่าด้วยเรื่องทางเมืองมากที่สุดและกล่าวถึงกฎหมายด้วย  เป็นการสนทนาเกี่ยวกับการปกครองและกฎหมาย  กล่าวได้ว่า นครรัฐทุกนครรัฐอยู่ในสภาวะสงครามที่ไม่ได้ประกาศทำสงครามกับรัฐอื่นๆอยู่ตลอดเวลา ชัยชนะแห่งสงครามเป็นเงื่อนไขแห่งความสงบสุข  หากสงครามเป็นตัวกำหนดถึงความสุขและสิ่งที่ดีงามดังนั้นสงครามจงไม่ใช่เป้าหมาย  ความดีงามทั้งหลายคือเรื่องของสันติภาพ ดังนั้นคุณธรรมแห่งสงครามคือความกล้าหาญ เรารู้ถึงหลักกาสูงสุดในการบัญญัติกฎหมายว่า กฎหมายต้องเกี่ยวข้องกับคุณธรรม

                นครรัฐตามlawsไม่ใช่รัฐแห่งค่ายทหาร การควบคุมความพึงพอใจที่เหมาะสมได้แก่การควบคุมโดยการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ให้เหตุผลนั้นเป็นที่ยอมรับของนครรัฐ ผลลัพธ์ดังกล่าวก็จะกลายกฎหมาย  กฎที่เหมาะสมกับชื่อของกฎหมายได้แก่คำสั่งที่มาจากการให้เหตุผลที่ถูกต้องว่าด้วยเรื่องของความพึงพอใจ

                การปกครอง การปกครองจะดำรงอยู่ได้ต้องเป็นการปกครองแบบผสม สปาตาร์เป็นรัฐที่มีการปกครองแบบผสมอยู่แล้ว การปกครองแบบราชาเปอร์เซียเหนทีจะเด่นที่สุด และเอเธนส์ จะโดดเด่นในแบประชาธิปไตย ระบบกษัตริย์นั้นคือการปกครองที่มีผู้มีภูมิปัญญาเป็นผู้ปกครอง  ประชาธิปไตยหมายถึงความอิสรภาพ  การผสมที่ดีและถูกตองคือนำเอาความมีปัญญามาผสมกับอิสรภาพของปัญญากับความยินยอม ของการปกครองโดยกฎหมายทรงปัญญา โดยบัญญัติโดยผู้บัญญัติกฎหมายที่ทรงปัญญาและดำเนินการบริหารโดยสมาชิกที่ดีที่สุดของนครรัฐกับการปกครองโดยคนธรรมดา  กฎหมายจะต้องมีบทนำกว้างๆซึ่งคือการชักชวนให้ยกย่องสิ่งต่างๆตามที่ควรจะได้รับเกียรติตามลำดับ การปกครองโดยใช้กฎหมายนั้นเป็นการปกครองที่เลียนแบบการปกครองแบบเทพเจ้า

                ในส่วนท้ายนี้lawsได้พูดถึงการปกครองในรูปแบบต่างๆ การใช้กฎหมายควรเป็นไปเช่นไรจุดเด่นของการปกครองในแต่ละรูปแบบนั้นเป็นเช่นดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  รัฐในอุดมคติ คนของรัฐในอุดมคติ การใช้กฎหมายในอุดมติ สามสิ่งที่กล่าวมานั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝัน แต่ด้วยประการทั้งปวงมนุษย์จึงได้แค่เห็นความเป็นอุดมคติ แต่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้ยาก นี่แหละคือสิ่งที่เพลโตได้ทิ้งให้กับเรา








ที่มา : http://mid.igetweb.com/

สำนักกฎหมายบ้านเมือง

             
               สำนักกฎหมายบ้านเมืองนั้น เป็นแนวความคิดปฏิเสธ กฎหมายที่สูงกว่า (Higher Law) หรือกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) สิ่งที่ยอมรับเป็นกฎหมายที่แท้จริงคือกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เท่านั้น
กฎหมายบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายที่สูงกว่าเนื่องจากถือว่ารัฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุดที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ โดยมิอาจโต้แย้งถึงความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว   ยุติธรรม อยุติธรรม เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากกฎหมายที่รัฐาธิปัตย์มีอำนาจที่จะบัญญัติขึ้น
สาระสำคัญของความคิดนักคิดในแนวนี้ได้แก่
1. ทฤษฎี “อำนาจอธิปไตย” ของ Jean Bodin (ฌอง โบแดง)
 ให้ความหมายของอำนาจอธิปไตยว่าเป็นอำนาจเด็ดขาดและถาวร เป็นอำนาจสูงสุดที่มิอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ใดๆแสดงออกโดยการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐที่แท้จริง จากคำสอนของโบแดง ทำให้เกิดความคิดที่ถือว่า “กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น” ซึ่งพัฒนาไปสู่ความคิดสำนัก กฎหมายบ้านเมือง
2. ทฤษฎี “สัญญาสวามิภักดิ์” ของThomas Hobbes (โทมัส ฮอบส์)
 เชื่อในอำนาจรัฐาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเชื่อว่ามนุษย์ชั่วร้าย ขัดแย้งกันตลอด จึงเข้าทำสัญญาประชาคมยกเลิกอำนาจให้รัฐาธิปัตย์เพื่อคุ้มครองรักษาให้แต่ละคนมีชีวิตรอด   ซึ่งการมอบอำนาจให้รัฐาธิปัตย์นั้นเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์  คือให้อำนาจเด็ดขาดให้ปกครองดูแล ลงโทษ ยอมให้ออกกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์นั่นเองเครื่องมือรักษาความสงบของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมายบ้านเมืองซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ทั้งโดยตรงและโดยปริยายที่รัฐสั่งการและกำหนดไว้ว่าเป็นสิ่งถูก-ผิด บังคับแก่ประชาชน เมื่อรัฐเป็น ผู้กำหนดความถูก-ผิด ยุติธรรม-อยุติธรรม จึงไม่อาจมีกฎหมายใดที่อยุติธรรมได้ เพราะเมื่อประชาชนเข้าทำสัญญาตกอยู่ใต้อำนาจรัฐแล้วเท่ากับว่าประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายและย่อมไม่มีใครที่จะออกกฎหมายมาข่มเหงตัวเอง กฎหมายทั้งหลายจึงเป็นธรรมและประชาชนต้องยอมรับโดยดุษฎี

3. ทฤษฎี “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์” ของ John Austin (จอห์น ออสติน)
กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ กฎหมายที่แท้จริงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นใช้บังคับกับมนุษย์
 2.กฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อใช้บังคับมนุษย์ด้วยกัน

แนวคิดความยุติธรรมของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
- ความยุติธรรม คือการรักษาไว้ซึ่งคำสั่งที่เป็นกฎหมายใช้อย่างมีมโนธรรม
-หลักความยุติธรรมสูงสุดก็คือหลักความยุติธรรมตามกฎหมาย
-ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมในจิตใจมนุษย์ เป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคล
ดังนั้นความยุติธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องของความยุติธรรมตามกฎหมายเท่านั้น ความยุติธรรมภายใต้กฎหมาย มองความยุติธรรมทำนองเดียวกับปรัชญาเคารพกฎหมายอย่างเชื่อมั่น ถือว่าเป็นความยุติธรรมตามกฎหมาย ความยุติธรรมตามกฎหมายผูกพันความเชื่อทางศาสนา พระเจ้าของชาวยิวถือว่ากฎหมาย และความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวกันมีกำเนิดจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา, ผู้บัญญัติกฎหมาย จึงให้ความสำคัญต่อกฎหมาย และความยุติธรรมอย่างเสมอภาคกัน ความยุติธรรมกับกฎหมายคือการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายโดยปราศจากความลำเอียงเป็นความยุติธรรมในการใช้กฎหมายในรูปธรรม

สำนักกฎหมายบ้านเมือง
     1.กฎหมายทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
     2.ยอมรับการนำกฎหมายของประเทศอื่นมาใช้ในประเทศตน
 3.เน้นนิติบัญญัติ
      4.ไม่เน้นความยุติธรรมตามธรรมชาติแต่เน้นความยุติธรรมในตัวบทกฎหมายเท่านั้น
ความเหมือนและความแตกต่างของสำนักกฎหมายบ้านเมืองกับสำนักประวัติศาสตร์คือ สำนักกฎหมายบ้านเมืองและสำนักประวัติศาสตร์กฎหมายมีความเชื่อเหมือนกันว่าสังคมคือสิ่งที่ให้กำเนิดกฎหมายมิใช่พระเจ้า หรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติข้อแตกต่าง
ข้อสรุป
 แนวคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมืองมีความคิดว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมืองซึ่งบัญญัติโดยรัฐเป็นกฎหมายที่แท้จริงมีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่มีกฎหมายอื่นที่เหนือกว่า การแก้ไขข้อพิพาททั้งปวงให้คิดจากกฎหมายบ้านเมืองที่ใช้บังคับกันอยู่โดยไม่ต้องพึ่งพาหลักการอื่นใดที่สูงกว่า









ที่มา : http://www.lawsiam.com

กฎหมายธรรมชาติ

สำนักความคิดในทางกฎหมายธรรมชาติ  (School of Natural Law)
   1.  ความหมาย
                   กฎหมายธรรมชาติ หมายถึง กฎหมายซึ่งเกิดจากธรรมชาติมีอยู่แล้วในธรรมชาติและมีอำนาจบังคับตามธรรมชาติ  และด้วยเหตุที่ธรรมชาติย่อมเป็นสิ่งสากล และอยู่เหนือมนุษย์ สำนักความคิดนี้จึงเชื่อว่ากฎหมายธรรมชาติอยู่เหนือกฎหมายของมนุษย์ และใช้ได้ไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่
                   โดยทั่วไปแล้ว สาระสำคัญของกฎหมายธรรมชาติอยู่ที่ข้อพิจารณาคุณค่าของการกระทำว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด คำว่า “ถูก” หรือ “ผิด” ในที่นี้หมายถึงคุณค่าทางจริยธรรม
                   สำหรับคำว่า “ธรรมชาติ” (nature) นั้น ปรัชญาเมธีแต่ละคนต่างมีความเห็นต่างกันออกไปดังนี้
                   (1) เดิมเข้าใจว่าธรรมชาติก็คือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ความร้อย แสงสว่าง นั่นเอง
                   (2)  ต่อมาเริ่มมีผู้นำความคิดเรื่องธรรมชาติไปปะปนกับคตินิยมทางศาสนาและลัทธิต่าง ๆ จึงเกิคความคิดขึ้นว่าธรรมชาติคือพระผู้เป็นเจ้า
                   (3)  ในที่สุดก็ได้มีผู้เห็นว่าธรรมชาตินั้นคือความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีของมนุษย์เอง เช่น การที่รัฐออกกฎหมายมากดขี่ย่มเหงประชาชน โดยเก็บภาษีสูงหรือวางบทลงโทษที่ทารุณโหดร้ายนั้นย่อมขัดต่อความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือความเป็นธรรมในสายตาของคนทั่วไป กฎหมายของมนุษย์นั้นจึงขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ
   2.  กำเนิดและวิวัฒนาการ
                   ความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติมีเค้าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีก ดังจะเห็นได้จากบทละครของโสโฟคลีส (Sophocles) เรื่องแอนติโกนี (Antigone) ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยกรีกเพื่อประชดสังคมและพรรณนาความคิดเห็นทางกฎหมายและการเมืองของปรัชญาเมธีในสมัยนั้น บทละครเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนพระเจ้าศรีออน (Creon) ประกาศใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง ต่อมาแอนติโกนีนางเอกของเรื่องได้คัดค้านกฎหมายของพระเจ้าศรีออนใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง ต่อมาแอนติโกนีนางเอกของเรื่องได้คัดค้านกฎหมายของพระเจ้าศรีออนเพราะถือว่าขัดกับกฎธรรมชาติและสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ แอนติโกนีทอุทธรณ์ว่าพี่ชายของเธอควรได้รับการปลงศพอย่างสมเกียรติ พระราชาไม่มีสิทธิห้ามญาติมิตรไปร่วมพิธีปลงศพผู้ตาย เนื้อเรื่องบทละครดังกล่าวเป็นเรื่องแปลและผิดสมัยอย่างยิ่ง เพราะชาวกรีกไม่ยอมรับทฤษฎีที่ว่ามีกฎหมายอื่นใดสูงไปกว่ากฎหมายของทางการบ้านเมืองอีก
                   แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติ (natural law) เป็นผลพลอยได้จากแนวความคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติ (natural right) ปรัชญาเมธีในอดีตคิดค้นและกล่าวอ้างเรื่องสิทธิธรรมชาติขึ้นเพื่ออ้างชัยชนะหรือสถานะที่เหนือกว่าสิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพในระดับหนึ่ง แต่ปรัชญาเมธีกลับเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในระดับนี้น้อยเกินไปควรมีมากกว่านี้ ครั้นจะอ้างสิทธิเสรีภาพในตัวบทกฎหมายอื่นใดก็เป็นอันหมดสิ้น ไม่มีให้อ้างอีกแล้ว ในที่สุดจึงต้องอ้าง “สิทธิธรรมชาติ” ซึ่งกล่าวว่าเกิดขึ้น และมีอยู่ตามธรรมชาติ กล่าวคือเกิดเอง มีมาเอง โดยไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น และไม่ว่ามนุษย์จะไปเกิดอยู่ที่ใด เวลาใดสิทธิดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่เป็นนิรันดร ครั้นนานเข้าเมื่อมีสิทธิธรรมชาติได้ก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติ และคุณค่าต่าง ๆ ตามธรรมชาติเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาระของกฎหมายธรรมชาติ
                   เปลโต้ (Plato) เป็นปรัชญาเมธีคนแรกที่กล่าวอ้างถึงสิทธิธรรมชาติ แม้ไม่อาจเรียกได้ว่า เปลโต้เป็นนักกฎหมายธรรมชาติคนแรกก็ตาม ในหนังสือเรื่อง “อุตมรัฐ” และ “กฎหมาย” เปลโต้ได้กล่าวถึงสิทธิธรรมชาติในความหมายว่า “สิ่งซึ่งถูกต้องเป็นธรรม” (something which is by nature just) เปลโต้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ความถูกต้องเป็นธรรม” (justice) ว่าหมายถึง                การประพฤติปฏิบัติกิจของตนอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
                   ด้วยเหตุนี้ สิทธิธรรมชาติจึงเป็นสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมหรือควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติกิจของมนุษย์ให้เป็นระเบียบและเรียบร้อย แนวความคิดนี้มีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับ จริยศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ จึงมีผู้กล่าวว่าแม้เปลโต้จะกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้แต่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเรื่องสิทธิธรรมชาติ ดังที่เข้าใจกันในเวลาต่อมา
                   ปรัชญาเมธีคนต่อมาที่กล่าวถึงสิทธิธรรมชาติไว้ค่อนข้างใกล้เคียงกับความเข้าใจในปัจจุบัน คือ อริสโตเติล (Aristotle) ในหนังสือเรื่อง “จริยศาสตร์” (Ethies หรือ Nicomachean Ethics) อริสโตเติลได้อธิบายว่า สิทธิธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง และเป็นสิทธิที่สถิติอยู่ทุกแห่งหน ทั้งปรากฎอยู่โดยไม่ต้องมีโองการหรือประกาศใด  (Natural right is that right which has everywhere the same power and does not owe its validity to human enactment) อริสโตเติลกล่าวต่อไปว่า สิทธิตามกฎหมายบ้านเมือง (positive right) อาจมีมากหรือน้อยสุดแท้แต่ว่าเป็นอาณาจักรใด ปกครองด้วยระบบใด เช่น ประชาธิปไตยหรือคณาธิปไตย แต่สิทธิธรรมชาติย่อมเป็นสากลและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทุกอาณาจักรและทุกระบบการปกครอง
                   แนวความคิดเรื่องกฎหมรยธรรมชาติเริ่มเป็นระเบียบและวางรากฐานเป็นครั้งแรกในปลายสมัยกรีก เมื่อพวกสตออิค (Stoic) รุ่งเรืองขึ้น จนแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในโรมนักปรัชญาโรมันในสมัยนั้น ยอมรับความคิดนี้โดยมุ่งจะใช้เป็นข้อต่อรองหรือทุ่มเถียงกับผู้ปกครอง ซึ่งก้าวล่วงสิทธิของพลเมือง ซิเซโร (Cicero) เป็นนักปรัชญาคนสำคัญซึ่งอธิบายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือชื่อ “กฎหมาย” (Laws) “สาธารณรัฐ” (Republic) “ธรรมชาติของพระเจ้า” (On the Nature of the Gods) และ “ความสิ้นสุดของความดีและสิ่งเลวร้าย” (On the End of the Good and Bad Things)
                   ไกอุส (Gaius) เป็นปรัชญาเมธีคนต่อมาที่กล่าวถึง “กฎหมายอันเป็นสากล” (Jusgentium) ซึ่งคงหมายถึง “กฎหมายธรรมชาติ” (Jus naturale) นั่นเอง แนวความคิดนี้มีอิทธิพลมากต่อการจัดทำประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนี่ยนในเวลาต่อมา
                   คำว่า “Jus gentium” แปลว่า กฎหมายของประเทศต่าง ๆ (Law of nations) ซึ่งหมายถึงหลักกฎหมายที่นานาประเทศยอมรับนับถือว่าเป็นธรรมนั่นเอง หลักกฎหมายนี้คงตรงกับหลัก “equity” ในกฎหมายอังกฤษ “Jus gentium” ตรงกันข้ามกับคำว่า “Jus civile” ซึ่งหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้แก่พลเมืองในรัฐเท่านั้น ฉะนั้นในทรรศนะของปรัชญาเมธีชาวโรมัน “Jus civile” ย่อมแตกต่างกันไปตามรัฐต่าง ๆ ในขณะที่ “Jus gentium” ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วไป นักปรัชญาในสมัยต่อมานิยมอ้างว่า “Jus gentium” คือกฎหมายธรรมชาติเพราะมีลักษณะเป็นสากล ส่วน “Jus civile” คือกฎหมายบ้านเมืองเพราะมีลักษณะเฉพาะ แต่บางครั้งก็ตีความกันไปว่า “Jus gentium” คือกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วน “Jus civile” คือกฎหมายภายใน
                   ในสมัยกลางคริสต์ศาสนาเริ่มรุ่งเรืองขึ้น ศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาอยู่ที่กรุงโรมซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 เป็นปรัชญาเมธีคนแรกที่กล่าวอ้างถึงกฎหมายธรรมชาติว่ามีอยู่จริง แต่เป็นกฎหมายตามคำสอนในทางคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายโรมันคาธอลิค กล่าวอีกนัยหนึ่งคำว่า “ธรรมชาติ” (nature) ในที่นี้ก็คือ “พระผู้เป็นเจ้า” (God) นั่นเอง
                   นักบุญโธมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) เป็นปรัชญาเมธีทางกฎหมายธรรมชาติที่สำคัญอีกผู้หนึ่ง นักบุญผู้นี้อธิบายปรัชญากฎหมายธรรมชาติอย่างละเอียดชัดเจนที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อไควนัส กล่าวว่ากฎหมายของมนุษย์ที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายธรรมชาติย่อมไม่มีสภาพบังคับอย่างกฎหมาย (A human law that disagrees with natural law does not have the force of law) อไควนัสยืนยันในความคิดเห็นของพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ที่ว่ากฎหมายธรรมชาติคือกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า โดยอธิบายว่า บัญญัติสิบประการในคริสต์ศาสนาเป็นแม่บทของกฎหมายทั่วโลกหรือเป็นบทบัญญัติสากล กล่าวได้ว่า อไควนัสเป็นผู้นำเอาทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติเข้ามารวมกับหลักธรรมในทางคริสศาสนา และได้วางรากฐานเป็นปึกแผ่นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
                   ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติเป็นที่นิยมกันมาก และถูกนำมาสนับสนุนความเห็นของผู้อ้างมาก นับแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อการปฏิวัติเพื่อล้มล้างอำนาจอธรรมของประมุข ไม่ว่าในอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1776 ในฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1789 หรือในรุสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1917 ก็ตาม



ที่มา : http://mommamsoftware.fix.gs

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฎหมายกับจารีตประเพณี

กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้
          กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี มีหลายประการด้วยกัน แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข  ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย เช่น การที่สามีภริยาไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน โดยภริยาไปมีชู้ซึ่งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม กฎหมายก็อาจจะบัญญัติถึงผลของการมีชู้ว่าให้สามีฟ้องหย่าจากภรรยาได้เป็นต้น สำหรับศาสนานั้นก็อาจจะมีข้อห้ามของศาสนาที่นำเอามาบัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น ศาสนาพุทธ การห้ามลักทรัพย์ที่มีอยู่ในศีล 5 ก็นำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายได้







ที่มา : http://www.baanjomyut.com

สิทธิมนุษยชนในกระแสโลกาภิวัตน์

          สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายความถึง สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็นคนอันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมา สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ และไม่มีบุคคล องค์กร หรือแม้แต่รัฐ สามารถล่วงละเมิดความเป็นมนุษย์นี้ได้ สิทธิในความเป็นมนุษย์นี้เป็นของคนทุกคนไม่เลือกว่าจะมีเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ที่แตกต่างกันหรือจะยากดีมีจนหรือเป็นคนพิการ สิทธิมนุษยชนนั้นไม่มีพรมแดน การกระทำใดที่มนุษย์กระทำต่อกันอย่างหยามเกียรติและละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นคน ไม่ว่าจะเกิดแก่มนุษย์ที่ประเทศใดและไม่ว่าผู้กระทำการละเมิดจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐใดรัฐหนึ่งก็ตาม ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การจะเข้าใจความหมายของสิทธิมนุษยชนนั้นจำเป็นต้องเข้าใจหลักการต่างๆที่ถือเป็นองค์รวมของสิทธิมนุษยชนด้วย คือ 1) สิทธิ (Rights)
สิทธิเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนตามธรรมชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งไม่มีใครล่วงละเมิดได้คนทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอดและต้องมีชีวิตอยู่อย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ความมีอยู่ของสิทธิตามธรรมชาตินี้ แม้เมื่อยังไม่มีกฎหมายมารองรับ สิทธิก็ยังมีอยู่
2) เสรีภาพ (Freedom)
เสรีภาพหมายถึง การที่มนุษย์สามารถทำอะไรก็ได้ภายใต้ขอบเขตของ ศีลธรรมอันดีงาม โดยไม่เบียดเบียนสังคม หรือไม่ล่วงล้ำสิทธิของบุคคลอื่น หรือสิทธิของส่วนรวม เราจึงเห็นว่ามีการใช้คำ 2 คำนี้พร้อมกัน คือสิทธิ และเสรีภาพ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) มักจะใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นและแสดงออก หรือสิทธิและเสรีภาพในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว เป็นต้น
3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคำที่อธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชน ในแง่ของการให้คุณค่าแก่ความเป็นคนว่า คนทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่กำหนดสิทธิที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ใครจะละเมิดไม่ได้ และไม่สามารถ่ายโอนให้แก่กันได้ สิทธินี้คือสิทธิในการมีชีวิตและมีความมั่นคงในการมีชีวิตอยู่ คนทุกคนที่เกิดมาบนโลกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการปฏิบัติต่อกันของผู้คนในสังคมจึงต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ทรมานอย่างโหดร้าย หรือกระทำการใดๆ ที่ถือเป็นการเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา และปฏิญญาระหว่างประเทศหลายฉบับสังคมปัจจุบันมักละเลยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะมีการให้คุณค่าของคนแตกต่างกัน สังคมทั่วไปให้คุณค่าของความเป็นคนที่สถานภาพทางสังคมของผู้นั้น เช่น เป็นกำนัน เป็นนายทหาร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิพากษา สถานภาพทางสังคมของคนแต่ละคน ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่ามนุษย์หรือคนคนนั้นมีศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือไม่ แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการให้คุณค่าความเป็นคนตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่ว่าจะเกิดมาพิการ เป็นเด็ก เป็นผู้หญิง ผู้ชาย กะเทย เกิดมาเป็นคนปัญญาอ่อน หรือยากจน คนทุกคนที่เกิดมาถือว่ามีคุณค่าเท่ากัน ต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน เพราะการปฏิบัติต่อกันของผู้คนในสังคมอย่างเสมอหน้ากันเป็นการเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์
4) ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination)
เกณฑ์การวัดว่าสังคมหนึ่งสังคมใดมีการละเมิดหรือเคารพสิทธิมนุษยชนก็คือ การดูว่าสังคมนั้นมีการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่ ตัวชี้วัดของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็คือ ความเสมอภาค หรือการปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หากมีการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยไม่เท่าเทียมกัน เราเรียกว่า การเลือกปฏิบัติความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มิใช่แปลว่าคนทุกคนต้องได้รับเท่านั้น แต่หมายความว่า ในสถานการณ์ที่เหมือนกันจะต้องปฏิบัติต่อคนด้วยหลักการเดียวกัน เช่น การประกาศรับนักเรียนเข้าเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนของรัฐนั้น ต้องเป็นการประกาศแก่บุคคลทั่วไปที่มีบุตรอายุครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เด็กทุกคนที่อายุครบ 7 ปี มีสิทธิสมัครสอบเข้าเรียนชั้น ป.1 เป็นต้น โรงเรียนจะประกาศว่า โรงเรียนจะรับเด็กที่พ่อแม่มีอุปการคุณเข้าโรงเรียน โดยเด็กไม่ต้องสอบเข้าเหมือนเด็กคนอื่นไม่ได้ หากโรงเรียนประกาศในลักษณะเช่นนี้ เท่ากับเป็นการใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกันต่อการปฏิบัติในสถานการณ์ที่เหมือนกัน ถือเป็นการเลือกปฏิบัติส่วนที่กล่าวว่าความเท่าเทียมกัน หรือเสมอภาคกันนั้น ไม่ได้แปลว่าคนทุกคนต้องได้รับเท่ากัน แต่หมายความว่า ในสถานการณ์เดียวกัน อาจมีการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันได้ เพราะข้อจำกัดหรือความจำเป็นของบุคคลนั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการไม่เสมอภาคหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น รัฐบาลประกาศว่าคนทุกคนที่มีรายได้จะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเท่ากันทุกคน โดยไม่ต้องคำนึงว่าใครจะมีรายได้มากน้อยเท่าใด โดยรัฐจะอ้างว่านี่คือการใช้เกณฑ์เดียวกัน ปฏิบัติต่อคนทุกคนเสมอหน้ากันหรือรัฐจะออกกฎหมายให้คนทุกคนอยู่บ้านการเคหะที่รัฐจัดหาไว้ให้ เพื่อแสดงว่าคนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน ย่อมไม่ใช่การอธิบายหลักของความเสมอภาค เพราะในความเป็นจริง การเสียภาษีให้แก่รัฐตามกำลังแห่งรายได้ของบุคคลนั้น ย่อมเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้มีรายได้ทุกคน มิใช่ให้คนที่มีรายได้น้อยต้องเสียภาษีเท่าคนที่มีรายได้มาก ดังนั้น ตามหลักการเรื่องความเสมอภาคนั้น จึงต้องเป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริง 2 ชุด หรือกรณีบุคคล 2 คน หรือกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยนำข้อเท็จจริงทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน โดยยึดถือสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ เป็นจุดโยงในการเปรียบเทียบ ซึ่งอะไรถือเป็นสาระสำคัญของเรื่องหรือกรณีนั้นๆ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เพราะความเหมือนหรือแตกต่างกันในสาระสำคัญของกรณีนั้นจะเกี่ยวพันถึงความสามารถที่จะต้องปฏิบัติให้แตกต่างหรือเหมือนกัน เช่น กรณีการเสียภาษีให้แก่รัฐดังกล่าวข้างต้น สาระสำคัญของกรณีนี้คือ รายได้ของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน จึงต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ตนได้รับ จึงเกิดความเป็นธรรม เสมอภาคกัน ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือในกรณีคนพิการที่รัฐต้องมีบริการเป็นพิเศษ เพื่อให้คนพิการสามารถได้รับบริการง่ายขึ้นนั้น ไม่ถือว่ารัฐเลือกปฏิบัติต่อคนปกติ เพราะสาระสำคัญของกรณีนี้คือ คนพิการไม่สามารเข้าถึงบริการของรัฐได้เช่นคนปกติ จึงต้องมีวิธีการพิเศษที่ทำให้คนพิการเข้าถึงบริการได้โดยง่ายและเป็นธรรมแก่คนพิการ เช่น กรณีกรุงเทพมหานครจัดลิฟต์ให้คนพิการที่สถานีรถไฟฟ้า BTS หรือมีทางเท้าที่มีทางลาดให้คนพิการที่นั่งรถเข็นสามารถขึ้น-ลง ทางเท้าได้โดยง่าย เป็นการอำนวยความสะดวกให้คนพิการ ถือว่าเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญแตกต่างกัน โดยไม่เหมือนกัน ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อได้เข้าใจหลักการต่างๆ  และที่มาของสิทธิมนุษยชนนี้แล้ว จะทำให้สามารถแยกแยะหรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมได้ว่า กรณีใดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ละเมิดสิทธิ มนุษยชนอะไร และอาศัยหลักการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิในชีวิต
2. กรณีโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งไม่รับเด็กที่เป็นโปลิโอเข้าเรียนโดยอ้างว่าเป็นคนพิการ ไม่น่าจะเรียนได้เท่าเด็กปกติ เป็นการละเมิดหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ
3. กรณีกรมตำรวจออกจดหมายเตือนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้งดการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเสรีภาพของสื่อมวลชน
4. กรณีชาวเขาอยู่บนเขามาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทางราชการบังคับให้ย้ายออกเพราะกลัวว่าจะไปตัดไม้ทำลายป่า เป็นการละเมิดเสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่
5. กรณีหนังสือพิมพ์ลงภาพข่าวผู้หญิงถูกข่มขืนและนำเสนอข่าวการถูกข่มขืนอย่างละเอียด เป็นการละเมิดเสรีภาพในเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว
6. กรณีรัฐบาลออกกฎหมายให้มีพรรคการเมืองของรัฐบาลเพียงพรรคเดียว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
7. กรณีรัฐบาลสร้างเขื่อนโดยไม่ให้ประชาชนรับรู้ข่าวสาร เป็นการละเมิดสิทธิที่จะรู้ข้อมูลข่าวสาร
8. กรณีตำรวจซ้อมผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายห้ามทรมาน
9. กรณีนายสุชาติ ชาวบุรีรัมย์ มาทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างในกรุงเทพฯ ได้ค่าจ้างวันละ 50 บาท เป็นการละเมิดสิทธิในการมีงานทำ และได้ค่าจ้างที่ยุติธรรม
10. กรณีชาวกะเหรี่ยงถือผี จัดพิธีเคารพเจดีย์ เจ้าป่าเจ้าเขา แต่ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้สั่งห้าม เป็นการละเมิดสิทธิในการถือศาสนา และสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม







ที่มา : http://www.baanjomyut.com

กฎหมายกับสังคม

กฎหมายกับสังคม
          สังคมเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนชั่วปะปนกันอยู่จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ ศีลธรรม ศาสนา จารีตประเพณีและกฎหมาย
          กฎหมาย  คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายลักษณะของกฎหมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายได้  4 ประการ คือ
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์  “กฎเกณฑ์” (Norm) หมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน (Standard) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตผู้นั้น กระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพักบาท” บทบัญญัตินี้เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์ว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดไม่สมควรกระทำ เป็นต้น กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล ความประพฤติ (Behavior) ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ
- ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
- การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวนั้น กระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
หากแม้มีการเคลื่อนไหวร่างกายแต่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ตามกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่น การกระทำโดยละเมอ การกระทำโดยตื่นเต้นตกใจ เป็นต้น ส่วนการไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น การที่แม่นิ่งเฉยเสียไม่ยอมให้นมหรืออาหารให้แก่ลูกทารก ทำให้ลูกเสียชีวิต เป็นต้น กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (Sanction) ของกฎหมาย คือมาตรการกำหนดผลของการกระทำตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย เช่น การลงโทษทางอาญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ
1.ประหารชีวิต 
2.จำคุก        
3.กักขัง 
4.ปรับ 
5.ริบทรัพย์สิน
หรือการลงโทษทางแพ่ง เช่น การให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือการยึดทรัพย์สินของจำเลยนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เป็นต้น หรือสภาพบังคับที่เป็นผลดีหากทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รัฐลดภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลที่ทำธุรกิจตามที่รัฐกำหนด เป็นต้น  โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่ากฎหมายมีสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายเท่านั้น
กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน จากการที่กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย กระบวนการบังคับให้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำ โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และ ราชทัณฑ์ เป็นต้น
กฎหมายกับศีลธรรม
          ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบมีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
          กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด  กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว กฎหมายนั้นผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษแต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ นั้นโดยเฉพาะโดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น  

ที่มา : http://www.baanjomyut.com/

หลักกฎหมายสิบสองโต๊ะ

กฎหมายสิบสองโต๊ะ (The Twelve Tables Law)
          ได้เริ่มจัดทำขึ้นเมื่อปี 450 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรวบรวมกฎหมายที่มีความสำคัญและรู้จักกันอย่างกว้างขวางในสมัยนั้นเข้าเป็นหมวดหมู่ในรูปของการจารึกไว้บนโต๊ะทองเหลืองเพื่อนำไปตั้งไว้ใกล้กับที่สาธารณะกลางเมืองกฎหมายนี้ได้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของสังคมโดยอาศัยจารีตประเพณีที่สั่งสมมาและศาสนาเป็นหลักสาเหตุการผลักดันให้มีการบัญญัติกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน 2 ชนชั้น คือ ฝ่าย Patricians ซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้แก่พวกผู้ปกครองและข้าราชการชั้นสูง และฝ่าย Plebeians ซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้าวานิช รวมทั้งเชลยศึก คนต่างด้าวและทาสซึ่งในการออกกฎหมายการบังคับใช้กฎหมายหรือการชี้ขาดตัดสินคดีเป็นอำนาจของ Patricians ทั้งสิ้น ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พวก Plebeians ซึ่งไม่มีโอกาสได้ทราบว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไรได้มีการเรียกร้องให้นำกฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร จนในราว 450 ปีก่อนคริสต์ศักราชจึงได้ทำการรวบรวมจารีตประเพณีที่ใช้เป็นกฎหมายอยู่ในขณะนั้นบันทึกลงบนแผ่นทองเหลือง 12 แผ่น ตั้งไว้ในที่สาธารณะใจกลางเมือง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของหลักการที่ว่ากฎหมายควรเป็นสิ่งซึ่งเปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้ได้เห็นและศึกษาหาเหตุผลได้
          โต๊ะที่  1    โต๊ะที่  2 และ โต๊ะที่  3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่งและการบังคับคดี เช่น
ถ้าหากคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลก่อนเที่ยงวัน ก็ให้ศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดี
ถ้าหากคู่ความฝ่ายใดหาพยานไม่ได้ก็ให้ร้องตะโกนดังๆ ที่ประตูบ้านของตนเพื่อแสวงหาพยาน
ในคดีที่จำเลยยอมรับใช้หนี้สินหรือในคดีที่ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน ก็ให้จำเลยชำระเงินภายใน 30 วัน
          โต๊ะที่  4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าครอบครัว เช่น
บิดาระหว่างที่มีชีวิตมีอำนาจเด็ดขาดเหนือบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย บิดาอาจกักขังบุตรหรือเฆี่ยนตีหรือล่ามโซ่ ให้ทำงานหรือมีเหตุไม่ชอบใจจะฆ่าบุตรเสียก็ได้ตลอดจนจะเอาบุตรไปขายเสียก็ได้
ทารกคลอดออกมารูปร่างผิดปกติมากจะเอาไปฆ่าเสียก็ได้
          โต๊ะที่  5 โต๊ะที่  6   และ โต๊ะที่  7  เป็นเรื่องเกี่ยวกับมรดก และทรัพย์สิน เช่น
ชายผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวตายลงโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้ญาติฝ่ายชายที่ใกล้ชิดที่สุดเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อไป
ถ้าชายอิสระตายลงโดยไม่มีผู้สืบสันดาน (ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน) ให้ทรัพย์สินของชายคนนั้นตกแก่ผู้อุปถัมภ์
ผลไม้หล่นตกไปในบ้านของผู้อื่น เจ้าของต้นผลไม้ยังคงเป็นเจ้าของผลไม้นั้นอยู่
          โต๊ะที่  8 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา เช่น
ผู้ใดทำการโฆษณาหมิ่นประมาทว่าเขาทำผิดทางอาญาหรือทางลามกอนาจาร ให้เอาผู้นั้นไปตีเสียให้ตาย
ผู้ใดลักทรัพย์เวลาค่ำคืน ให้เอาไปฆ่าเสีย
ผู้ใดวางเพลิงบ้านเรือนเขาหรือกองข้าวสาลีของเขา ให้เอามาผูกแล้วเฆี่ยนและเผาเสียทั้งเป็น แต่ถ้าเกิดขึ้นด้วยความประมาท ให้เสียเงินค่าทำขวัญแล้วลงโทษพอควร
สัตว์สี่เท้าของผู้ใดเข้าไปทำให้ที่ดินเขาเสียหาย เขาจับยึดตัวสัตว์นั้นไว้เป็นของเขาได้ เว้นแต่เจ้าของสัตว์จะเสียเงินค่าไถ่ถอนกลับคืนมาตามราคาค่าเสียหาย
          โต๊ะที่  9 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของรัฐ เช่น
กฎหมายใดๆ จะก่อให้เป็นแต่ทางเสียหายอย่างเดียวแก่เอกชนนั้นห้ามไม่ให้มีผลบังคับใช้
รัฐสภาเท่านั้นที่มีอำนาจออกกฎหมายที่กระทบกระเทือนถึงสถานะของบุคคลได้
          โต๊ะที่  10 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายของศาสนา เช่น
ห้ามไม่ให้ฝังหรือเผาศพในเขตพระนคร  ห้ามมิให้หญิงขีดข่วนแก้ม ร้องไห้เกรียวกราวในงานศพ
          โต๊ะที่  11 และ โต๊ะที่  12 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเพิ่มเติม เช่น
ห้ามมิให้บุคคลต่างชั้นวรรณะทำการสมรสกัน
เมื่อทาสทำการลักทรัพย์ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เขา นายทาสต้องรับชดใช้ค่าเสียหายหรือส่งมอบตัวทาสให้เขาไป
กฎหมายที่ออกมาภายหลังย่อมยกเลิกกฎหมายเดิมที่มีข้อความขัดแย้งกัน  


 ที่มา : http://www.baanjomyut.com 

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายที่ประชาชนควรรู้

1. การทะเบียนราษฎร์
บุตรเกิดถ้าเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งถ้าเกิดนอกบ้านให้มารดาแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันเกิดชื่อบุตรให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณีแจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก  ย้ายบ้านให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วันและเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน  คนตายถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้งภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศแจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิดตั้งชื่อบุตรย้ายบ้านหรือคนตายให้แจ้งดังนี้
ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร)
ความผิด
ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลามีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2. บัตรประจำตัวประชาชน
คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ความผิด
ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3. การรับราชการทหาร
กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี
สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน คือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
4. การรักษาความสะอาด
ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท
ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
5. การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค
6.หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
7. เอกเทศสัญญา
กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกัน โดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
8. กฎหมายที่ดิน
เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน
9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ
จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด
การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป
ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
*ความผิดและโทษของอาวุธปืน
มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม
ข้อมูลจาก

ที่มา : www.metro.police.go.th
 

กฎหมายที่ดิน

          


         
            ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหนเป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์สำหรับใช้เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นระเบียบการเกี่ยวกับที่ดินจึงมีความละเอียดอ่อนมากเพื่อให้ประชาชนผู้สุจริตได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องที่ดินที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันบางส่วนไว้บ้างจึงได้รวบรวมข้อควรทราบและทางปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ
           ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนองคลองบึง ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลด้วย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1) คำว่าที่ดินมิได้หมายถึงเนื้อดินอันเป็นกรวดทราย โคลน เลน แต่หมายถึงอาณาเขตอันจะพึงวัดได้เป็นส่วนกว้างส่วนยาวอันประจำอยู่แน่นอนบนพื้นผิวโลก เป็นส่วนหนึ่งของผิวพื้นโลกอันมนุษย์จะพึงอาศัย กรวด ทราย หิน ดิน โคลน แร่ธาตุที่อาจจะขุดขึ้นมามิใช่ตัวที่ดิน หากเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ที่ดินนั้นจึงเป็นสิ่งไม่อาจทำลายทำให้สูญหาย หรือเคลื่อนย้ายอย่างใดๆได้เว้นแต่จะเปลี่ยนสภาพไปเช่นเปลี่ยนสภาพเป็นทางน้ำสาธารณะ
ประเภทที่ดิน 
1. ที่ดินของเอกชน รวมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดินมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัด
โรงทหาร
สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้
                1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้
                2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ
                3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน
หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินมีอยู่ 4 อย่าง
                1. โฉนดแผนที่ เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิในที่ดินฉบับแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยออกเมื่อ ร.ศ.120 (พ.ศ. 2445) และ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) ออกโดยมีการรังวัดทำแผนที่ระวาง ป้องกันการเกิดการทับที่ซ้อนที่ ผู้ถือหนังสือนี้มีกรรมสิทธิในที่ดินของตนโดยสมบูรณ์ตลอดไปจนกระทั่งปัจจุบัน
                2. โฉนดตราจรอง เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ.124 ประกาศใช้ในมณฑลพิษณุโลก ที่เป็นจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ สุโขทัย และบางส่วนของนครสวรรค์ในจังหวัดอื่นไม่มีการออกโฉนดตราจองการรังวัดทำแผนที่ไม่มีระวางยึดโยง ทำเป็นแผนที่รูปลอย เป็นแปลงๆ ไป
                3. ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วออกให้ในกรณีที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จับจองเป็นใบเหยียบย่ำมีอายุ 2 ปี หรือผู้ได้รับตราจองที่เป็นใบอนุญาตมีอายุ 3 ปีและได้ทำประโยชน์ในที่ดินภายในกำหนดแล้วมีสิทธิจะได้รับตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
                4. โฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มี 6 แบบ น.ส.4 , น.ส. 4 ก. ,น.ส. 4 ข., น.ส. 4 ค.,น.ส. 4 ง. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 15,17 ปัจจุบันไม่ออกแล้ว) น.ส. 4 จ. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 34) ปัจจุบันโฉนดที่ดินออกตามแบบ น.ส.4 จ.
                การออกโฉนดที่ดิน
                ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศเขตเพื่อจะออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58,58 ทวิ)
                ข. การออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59)
ที่ดินมือเปล่า คือที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 อย่างต่อไปนี้ คือไม่มีโฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ที่ดินมือเปล่านั้นอาจจะไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลยหรือมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบเหยียบย่ำตราจองที่เป็นใบอนุญาต ส.ค.1 ใบจองหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือใบไต่สวน
ส.ค.1 
                ส.ค.1 คือ หนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินที่ผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ว่าตนครอบครองที่ดินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด
นายอำเภอจะออกแบบ ส.ค.1 ให้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส.ค.1 มีลักษณะสำคัญแสดงให้ทราบว่ามีเนื้อที่เท่าใดใครเป็นเจ้าของ ตำแหน่งอยู่ที่ใด ที่ดินได้มาอย่างไร มีหลักฐานแห่งการได้มา และสภาพที่ดินเป็นอย่างไร
                ส.ค.1 ที่ผู้แจ้งได้มาไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิที่เคยมีอยู่หรือไม่เคยมีอยู่ของผู้แจ้งต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด คือ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด ไม่ใช่หนังสือรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง ความเป็นเจ้าของผู้แจ้ง ผู้แจ้งต้องพิสูจน์เอาเอง
ใบจอง 
                ใบจองเป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ผู้ที่ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ ซึ่งจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราวๆ ในแต่ละท้องที่)
                ผู้มีใบจองจะต้องจัดการทำประโยชน์ในที่ดินที่ราชการจัดให้ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (การทำประโยชน์ให้แล้วเสร็จ หมายถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินที่จัดให้) และที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่คนอื่นไม่ได้ต้องทำประโยชน์ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อทำประโยชน์เสร็จถึง 75% แล้ว ก็มีสิทธิมาขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส. 3 ได้เหมือนกับผู้มี ส.ค.1 มี 2 กรณี คือ
                1. เมื่อทางราชการเดินสำรวจทั้งตำบลเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3 ให้
                2. มาขอออกเองเหมือนกับผู้มี ส.ค.1
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)
                คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (นายอำเภอ) ว่าผู้ครอบครองที่ดินได้ทำประโยชน์แล้ว มี 2 แบบ คือ แบบ น.ส.3 และ น.ส. 3ก
                แบบ น.ส.3ก ให้ใช้เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีกำหนดตำแหน่งทีดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ
                ที่ดินที่มีมี น.ส.3 นี้ถือว่ามีสิทธิครอบครองคือมีสิทธิยึดถือทรัพย์นั้นไว้เพื่อตน เป็นสิทธิที่มีความสำคัญรองลงมาจากกรรมสิทธิ (แต่ทางพฤตินัยก็ถือว่าเป็นเจ้าของเช่นกัน) นอกจากนี้เวลาจะโอนให้คนอื่น ไม่ว่าจะขายหรือยกให้ หรือจำนองก็สามารถทำได้ แต่ต้องไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ไม่ใช่สำนักงานที่ดิน
                ที่ดิน น.ส.3 นี้ เป็นที่ดินที่เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เจ้าของที่ดินมีสิทธินำ น.ส.3 มาขอออกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้
กรรมสิทธิได้ 2 กรณี คือ
                1. เมื่อทางราชการจะออกโฉนดที่ดินให้โอนการเดินสำรวจทั้งตำบล
                2. มาขอออกเองเป็นเฉพาะราย เหมือนผู้มี ส.ค.1 หรือ น.ส.3
ใบไต่สวน (น.ส.5) 
                เป็นหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน (กฎกระทรวงฉบับที่ 5) ใบไต่สวนจะออกให้ต่อเมื่อบุคคลมารังวัดโฉนดที่ดินจะเป็นการรังวัดเฉพาะแปลง(ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59) หรือรังวัดเป็นท้องที่ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58) ก่อนออกโฉนดที่ดินพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำการรังวัดตรวจสอบที่ดินเพื่อทำแผนที่ระวาง และสอบสวนสิทธิว่าเป็นที่ดินของใคร มีบิดา มารดาชื่ออะไร มีอายุเท่าไร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณเท่าไร มีเขตข้างเคียงแต่ละทิศจดอะไร และมีหลักฐานสำหรับที่ดินอย่างไรบ้าง
ข้อความที่สอบสวนรังวัดมาได้ จะต้องจดไว้ในใบไต่สวนและให้เจ้าของที่ดินลงชื่อรับรอง และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสอบสวนลงชื่อไว้ด้วย
                ใบไต่สวน เป็นพยานเอกสารที่แสดงว่า ผู้มีชื่อในใบไต่สวนนำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินแปลงนั้นๆ แล้ว ใบ
ไต่สวนไม่ใช่เอกสารสิทธิ แต่มีประโยชน์สำหรับ ผู้มีชื่อในใบไต่สวนที่ถูกฟ้องคดีหาว่าสละสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงนั้น อาจอ้างใบ
ไต่สวนเป็นพยานเอกสารต่อสู้ได้ว่าตนเองยังมีเจตนายึดถือครอบครองอยู่ มิฉะนั้นคงไม่นำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดิน และเป็นเอกสารที่ยืนยันว่ามีที่ดินมีเนื้อที่ประมาณเท่าไร แต่ละทิศจดที่ดินข้างเคียงแปลงใด และเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของได้ครอบครองตามเขตที่แสดงไว้ในใบไต่สวนแล้ว
ที่ดินมือเปล่าแตกต่างกับทีดินมีโฉนด 
                1. ที่ดินมีโฉนด เจ้าของมีกรรมสิทธิ กล่าวคือ มีสิทธิใช้สอย, จำหน่าย, ได้ดอกผลและติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                ที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองซึ่งเกิดขึ้นจากการยึดถือที่ดินนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน
                2. ที่ดินมีโฉนด ถูกครอบครองปรปักษ์ได้กล่าวคือ หากมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองที่ดินมีโฉนดโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกัน10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิแต่ต้องไปขอให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์และนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
                ที่ดินมือเปล่า ถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ส.ค.1 หรือ น.ส.3 มีคนมาครอบครอง 10 ปี หรือ 20 ปี ผู้ครอบครองก็คงมีแต่สิทธิครอบครอง ดังนั้นผู้มาแย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าจากเจ้าของเดิมเกิน 10 ปี จะต่อสู้ว่าตนได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์แล้วไม่ได้แต่ต้องต่อสู้ว่าตนได้สิทธิในที่ดินนั้นแล้วเนื่องจากเจ้าของเดิมถูกแย่งการครอบครองแล้วไม่ฟ้องร้องภายใน 1 ปี
ผู้ครอบครองเดิมย่อมสูญสิ้นในที่ดินของตน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375)
                3. ที่ดินมีโฉนด พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียน คือ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
                - ที่ดินมือเปล่า พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนคือนายอำเภอหรือผู้ทำการแทนปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
                4. ที่ดินมีโฉนด อายุความการทอดทิ้งให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ที่ดินมีโฉนดทอดทิ้งเกิน 10 ปีติดต่อกัน (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6)
                ที่ดินมือเปล่า หากเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทอดทิ้งเกิน 5 ปี ติดต่อกันที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐ สำหรับที่ดินมือเปล่าประเภทอื่น เช่น ส.ค.1 ใบจอง หากผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป การครอบครองย่อม
สุดสิ้นที่ดินตกเป็นของรัฐทันที
เจ้าของที่ดินมือเปล่าจะสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตนได้โดยประการหนึ่งประการใดดังต่อไปนี้
                1) โดยเจ้าของที่ดินมือเปล่าโอนที่ดินของตนให้ผู้อื่นหากเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โอนโดยการจดทะเบียนต่อนายอำเภอท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ หากเป็นที่ดิน ส.ค.1 โอนโดยการส่งมอบการครอบครองซึ่งใช้ยันกันได้ระหว่างเอกชนเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378-1380)
                2) โดยการสละเจตนาครอบครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) เช่นเจ้าของที่ดินมือเปล่า สค.1 ทำหนังสือโอนขายกันเอง เป็นการแสดงเจตนาว่าผู้ขายสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป
                3) โดยไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) การที่เจ้าของที่ดินมือเปล่าเลิกยึดถือที่ดินเป็นการแสดงเจตนาละทิ้ง เลิกครอบครอง การซื้อขายที่ดินมือเปล่า โดยมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือกันนั้นเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาและ
ผู้ขายสละสิทธิให้ผู้ซื้อเข้าปกครองอย่างเจ้าของโดยผู้ขายเลิกยึดถือที่ดินนั้นต่อไป ที่ดินย่อมเป็นสิทธิของผู้ซื้อ
                4) โดยถูกแย่งการครอบครองแล้วเจ้าของที่ดินมือเปล่าไม่ฟ้องเรียกร้องคืนภายใน 1 ปี ย่อมสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375) การฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎหมายถือว่าที่ดินมือเปล่าเจ้าของไม่มีกรรมสิทธิ มีแต่เพียงสิทธิครอบครองระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง มิใช่นับตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง
                การฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เป็นระยะเวลาสิ้นสุด มิใช่อายุความ  ดังนั้นแม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณายกฟ้องโจทก์ก็ได้
                5) โดยถูกเวนคืนให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 5)
                6) โดยเจ้าของละทิ้ง (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6) เช่น ที่ดิน สค.1 ใบจอง หากเจ้าของสละเจตนาครอบครอง การครอบครองย่อมสิ้นสุด ที่ดินตกเป็นของรัฐ
                สำหรับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หากทอดทิ้ง 5 ปีติดต่อกัน ที่ดินตกเป็นของรัฐประเภทที่รกร้างว่างเปล่า
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน 
                1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เช่นได้มาโดยได้โฉนดแผนที่โฉนด
ตราจอง, หรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่มีกรรมสิทธิแต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ และไม่ถือว่าเป็นที่ดินมือเปล่า ฎีกาที่ 1570/2500 ที่พิพาทซึ่งเจ้าของได้ครอบครองทำที่ดินให้เป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 และพระราชบัญญัติ ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) 2479 แล้วแม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ ก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 มาใช้บังคับคดี โดยถืออายุความสละที่ดิน 9 ปี 10 ปี หาใช่อายุความ 1 ปี ไม่
                2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินตั้งตำบล และได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)
                3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยนิติกรรม เช่น โดยการซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้จำนอง, ขายฝาก ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้น เป็นโมฆะ
                4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยผลของกฎหมาย เช่น
                ก) ได้กรรมสิทธิในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่ง จะต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมา เจ้าของที่แปลงนั้นก็มีแต่สิทธิครอบครองที่งอกเท่านั้น ดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนด เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิในที่งอก ผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้องครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (สค.1 , นส.3)
 เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น
                ข) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ” ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จบทที่ 42) ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1, น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่าอย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น
                การได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครองหากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วน ก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง
                ค) การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน โดยทางมรดก การจะมีกรรมสิทธิในที่ดินมรดกที่ดินมรดกนั้นต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดินถ้าที่ดินมรดกเป็นที่มือเปล่าเช่นที่ นส.3, สค.1 ก็มีเพียงสิทธิครอบครอง
                ผู้ได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้ จะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น นาย ก. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย ข. เมื่อนาย ก. ตาย นาย ข. ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียน เนื่องจากพินัยกรรมมีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหรือหากไม่มีพินัยกรมเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดยธรรมทันที แต่ต่อมาหากนาย ข. ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ค. นาย ข.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนาย ก. เจ้าของเดิมอยู่ นาย ข. จะต้องจดทะเบียน การได้มาประเภทมรดก ลงชื่อนาย ข. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเสียก่อนจึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ค. ต่อไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า “ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้” การได้มาทางมรดกก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน
วิธีการจดทะเบียนการได้มาประเภทมรดก 
                1. ให้ผู้ได้รับมรดกนำหลักฐานสำหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 พร้อมด้วยหลักฐานในการรับมรดก เช่น พินัยกรรม มรณบัตร สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกมาได้
                2. ให้ผู้ขอรับมรดก ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวในข้อ 1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
                3. พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานและหากเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทก็จะประกาศการขอรับมรดกนั้น 60 วัน แม้เป็นการโอนมรดกตามพินัยกรรมก็ต้องประกาศด้วยเว้นแต่มีการจดทะเบียนตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลก่อนแล้ว และผู้จัดการมรดกโอนต่อให้ทายาทไม่ต้องประกาศ ประกาศนั้นให้ติดไว้ที่อำเภอสำนักงานที่ดิน ที่ทำการกำนัน บริเวณที่ดินแห่งละ 1 ฉบับ ส่งประกาศให้ทายาททุกคนที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็นทายาททราบเท่าที่จะทำได้
                4. ถ้าไม่มีผู้โต้แย้ง ก็ให้จดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทตามที่ขอ
                5. ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนคู่กรณีแล้วเปรียบเทียบประนีประนอมกันหากไม่ตกลงให้เจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควรแล้วแจ้งคู่กรณีทราบ ผู้ที่ไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ถ้ามีการฟ้องศาลให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้ก่อน เมื่อศาลพิพากษาจึงดำเนินการตามที่ศาลสั่ง
                ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง
                ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนมรดกถ้าเป็นการรับมรดกระหว่างบิดา มารดา บุตร สามี เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 50 สตางค์ของจำนวนทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าอากร
การเสียสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน 
                ผู้มีสิทธิในที่ดินอาจเสียสิทธิในที่ดิน ได้โดยที่ดินนั้นจะตกเป็นของรัฐในกรณีที่มีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้พื้นที่ดินรกร้างว่างเปล่าาเกินเวลาดังนี้
                1. สำหรับที่ดินมีโฉนดที่ดินเกิน 10 ปี ติดต่อกัน
                2. สำหรับที่ดินที่มี น.ส.3 เกิน 5 ปี ติดต่อกัน
                โดยถือว่าผู้นั้นเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6)
การขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3ก) 
ที่ดินที่จะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ มีดังนี้
                1. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
                2. ต้องไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
                3. ต้องไม่เป็นที่เขา ที่ภูเขา หรือที่สงวนหวงห้าม หรือที่ดินที่ทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงประกอบการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มีดังนี้
                1. บัตรประจำตัว
                2. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
                3. ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
                4. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
                5. ตราจองเป็นใบอนุญาต
                6. หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นๆ ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยู่ในท้องที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)
                วิธีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
                1. ผู้ขอต้องยื่นคำขอต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ที่ดินตั้งอยู่แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งแนบหลักฐานตามที่กล่าวมาแล้ว
                2. เมื่อรับคำขอแล้ว นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรืออาจจะมอบให้เจ้าหน้าที่ผู้ใดไปแทนก็ได้ จะออกไปทำการรังวัดพิสูจน์สอบสวนว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นตามระเบียบและกฎหมาย ในการรังวัดเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียงต้องไประวางชี้แนวเขตและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย
                3. เมื่อได้พิสูจน์การทำประโยชน์แล้วปรากฎว่าได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น ตลอดจนสภาพกิจการที่ได้ทำประโยชน์แล้ว นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอจะประกาศคำขอรับรองการทำประโยชน์ไว้ 30 วัน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่ทำการกำนันในบริเวณที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสำนักงานเทศบาล (ถ้ามี) แห่งละ 1 ฉบับ
                4. ถ้ามีผู้คัดค้าน นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอจะทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็ดำเนินการไปตามข้อตกลงนั้น หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้มีคำสั่งว่าจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใด และให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งประการใดให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 60 วัน ก็ให้ดำเนินการไปตามที่มีคำสั่งไว้แล้ว
                5. ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ก็ให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ต่อไป
                6. ถ้าปรากฎว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยความผิดหลงหรือฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ถูกต้องด้วยประการใดก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ได้
การขอออกโฉนดที่ดิน 
ที่ดินที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ มีดังนี้
                1. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
                2. ต้องไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
                3. ต้องไม่เป็นที่เขา ที่ภูเขา หรือที่สงวนหวงห้าม หรือที่ดินที่ทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ
                4. ต้องเป็นที่ดินที่ได้มีระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินแล้ว
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงประกอบขอออกโฉนดที่ดิน มีดังนี้
                1. บัตรประจำตัว
                2. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
                3. ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
                4. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
                5. ตราจองเป็นใบอนุญาต
                6. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือใบสำคัญแสดงการนำที่ดินขึ้นทะเบียน (แบบหมายเลข 3)
                7. หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือ สหกรณ์นิคม
                8. หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่น ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยู่ในท้องที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล
วิธีการขอออกโฉนดที่ดิน
                1. ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมหลักฐานการได้มาซึ่งที่ดินตามที่กล่าวมาแล้วต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขา แล้วแต่กรณี
                2. เมื่อได้รับคำขอแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกไปทำการรังวัดและทำการไต่สวนเจ้าของที่ดินผู้ปกครองท้องที่ และเจ้าของที่ดิน
ข้างเคียง
                3. เมื่อรังวัดเสร็จเรียบร้อยและไม่มีข้อขัดข้อง เจ้าพนักงานที่ดินก็จะประกาศแจกโฉนดมีกำหนด 30 วัน โดยปิดไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนันและบริเวณที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินแห่งละ 1 ฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีก 1 ฉบับ
                4. ถ้ามีผู้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินจะทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็จะดำเนินการไปตามความตกลง ถ้าไม่ตกลง เจ้าพนักงานที่ดินก็จะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งแล้ว ถ้าฝ่ายใดไม่พอใจให้ฝ่ายนั้นไปฟ้องศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง ถ้าไม่มีการฟ้องศาลก็ดำเนินการไปตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่ง
                5. ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านโต้แย้งก็ออกโฉนดที่ดินให้ต่อไป
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 
                การโอนกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3 หรือ นส.3ก) ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
                ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
1. การยื่นขอ
                1.1 สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือมีใบไต่สวนหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นในที่ดินดังกล่าวนั้นรวมกับที่ดิน ให้ไปยื่นคำขอ ดังนี้
                    1.1.1 ที่ดินที่อยู่ในเขตที่มีสำนักงานที่ดินสาขาให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินสาขานั้น
                    1.1.2 ถ้าไม่มีสำนักงานที่ดินสาขาในเขตนั้นให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด
                1.2 สำหรับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน 1 ให้ไปยื่นคำขอ ดังนี้
                    1.2.1 ที่ดินที่อยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอ ให้ยื่นต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่นั้น
                    1.2.2 ที่ดินที่อยู่นอกท้องที่กิ่งอำเภอให้ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่นั้น
                1.3 ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินใบไต่สวน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3 หรือ นส.3ก) คู่กรณีอาจยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน (สำนักงานที่ดินกลาง) เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม 1 หรือ 2 แล้วแต่กรณีดำเนินการจดทะเบียนให้ก็ได้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้องมีการประกาศหรือต้องมีการรังวัด
การมอบอำนาจกระทำการเกี่ยวกับที่ดิน 
                ในการที่ผู้ขอจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมไม่สามารถไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินอำเภอด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้ใดผู้หนึ่งที่เชื่อถือไว้วางใจได้จริงๆ ไปทำการแทนได้ โดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทนควรมอบบัตรประจำตัวของผู้มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เจ้าของที่ดินและผู้จะซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวังหรือกระทำการให้รัดกุมรอบคอบมิฉะนั้นอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ จึงขอให้ผู้มอบได้ปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัดหนังสือมอบอำนาจควรใช้ตามแบบของกรมที่ดินซึ่งมีอยู่ 2 แบบสำหรับที่ดินมีโฉนดแล้วแบบหนึ่ง กับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดอีกแบบหนึ่ง หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียนข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินเพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้องขอแนะนำข้อปฏิบัติ ดังนี้
                1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้าน เรือน โรง ให้ชัดเจน
                2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษ เพิ่มเติม ก็ให้ระบุไว้ด้วย
                3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกัน ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
                4. ถ้ามีขูดลบ ตกเติม แก้ไข หรือขีดฆ่า ให้ระบุขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
                5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความ เมื่อกรอกข้อความครบถ้วนแล้วให้อ่านก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้ลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ คือ อย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าๆ เป็นอันขาด
                6. มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อ จะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้มอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
                7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารี่ปัปลิค รับรองด้วย
                8. ผู้มอบอำนาจที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าผู้มอบจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่ ควรให้ผู้ปกครองท้องที่หรือผู้ที่เชื่อถือได้รับรองก่อน
                9. ควรพิจารณาถึงบุคคล ที่จะรับมอบอำนาจจากท่านควรจะเป็นบุคคลที่ท่านเชื่อถือหรือรู้จักชอบพอกันมานาน หรือเป็นญาติพี่น้องกัน อย่ามอบอำนาจให้กับผู้ที่ไม่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน
                บางเรื่องผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทั้งสองฝ่าย คือ เป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีเช่นนี้ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่ายินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งด้วย (มาตรา 805 แห่ง
ป.พ.พ.)                                 
                ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ควรไปทำธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินด้วยตนเอง จะเป็นการปลอดภัยและสะดวกวกว่า แม้จะเสียเวลาไปบ้าง ก็ยังดีกว่าสูญเสียทรัพย์
การอายัดที่ดิน 
                มาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ให้ทำได้
                เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเห็นสมควร ให้รับอายัดไว้ได้ไม่เกินกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล เมื่อศาลได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปตามควรแก่กรณี
                คำว่า การอายัดที่ดิน หมายถึง การหยุดนิ่งไม่ทำอะไรต่อไป หรือให้ระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะหนึ่ง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงนั้น มีสิทธิตามกฎหมายที่จะบังคับเอากับที่ดินแปลงนั้นไปฟ้องร้องอายัดไว้ระยะหนึ่ง (ไม่เกิน 60 วัน) ได้ เป็นการยังยั้งการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเสียแต่ต้นมือหากปล่อยให้จดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนกันได้เรื่อยๆไป จะเกิดปัญหายุ่งยากโดยต่างฝ่ายต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายมากเกินไป และอาจเกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกผู้สุจริต หากมีการโอนกันต่อๆ ไป ในการสอบสวนพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่จะรับอายัดหรือปฏิเสธไม่รับ เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะการอายัดเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดิน ในอันที่จะขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดิน หลักการพิจารณามีอยู่ว่าสิทธิที่อ้างมาเพื่อขออายัดนั้น เกี่ยวกับที่จะบังคับเอาแต่ที่ดินนั้นโดยตรงหรือไม่
                การขออายัดที่ดินจะต้องกระทำก่อนมีการฟ้องร้องต่อศาล ถ้าฟ้องศาลแล้วรับอายัดไม่ได้เว้นแต่ศาลจะสั่งอายัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการขออายัดจะกระทำได้แต่เฉพาะที่ดินเท่านั้น โดยผู้ขอต้องส่งหลักฐานเอกสารที่จะบังคับให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่รวมถึงการขออายัดบ้านเรือน โรง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
การขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน 
                หากโฉนดที่ดินสูญหาย เจ้าของที่ดินจะต้องออกใบแทนทันที
                คำว่าสูญหาย หมายถึง ตกหายหรือหาไม่พบ เมื่อพบว่าโฉนดที่ดินหายเจ้าของที่ดินจะต้องไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ณ ท้องที่ที่เกิดเหตุสูญหาย หรือที่ที่ดินตั้งอยู่ ให้พนักงานสอบสวนลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน โดยแจ้งหมายเลขโฉนดด้วย หากไม่ทราบหมายเลขโฉนดก็อาจขอตรวจสอบหมายเลขโฉนดจากบตรรายชื่อเจ้าของที่ดินที่สำนักงานที่ดินแล้วนำหลักฐานการแจ้งความ บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส และพยานบุคคลที่เชื่อถือได้ 2 คน (มีบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย) ซึ่งรู้ถึงการที่โฉนดที่ดินสูญหายไปให้ถ้อยคำรับรองการให้ถ้อยคำรับรองของผู้ขอว่าเป็นความจริงต่อพนักงานที่ดิน โดยนำหลักฐานทั้งหมดดังกล่าวไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินต่อพนักงานที่ดินในเขตที่ที่ดินตั้งอยู่
                หากเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนแล้วเชื่อว่าโฉนดที่สูญหายจริงก็จะประกาศขอออกใบแทน 30 วัน ปิดไว้ที่สำนักงานที่ดิน 1 ฉบับ ที่ทำการกำนัน 1 ฉบับ ที่บริเวณที่ดิน 1 ฉบับ ในเขตเทศบาลปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีก 1 ฉบับ หากไม่มีผู้คัดค้านก็จะออกใบแทนให้ไปหากมีผู้คัดค้านและปรากฏว่าโฉนดไม่สูญหายจริง เจ้าพนักงานที่ดินก็จะยกเลิกคำขอ
คำแนะนำเรื่องการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับที่ดิน 
                1. ควรเก็บรักษาโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3 หรือ นส.3ก) ไว้ในที่ปลอดภัย ถ้ามีแขกแปลกหน้าขอดูโฉนดที่ดินหรือ นส.3 โดยอ้างว่า มีคนต้องการจะซื้อให้ระมัดระวังเพราะผู้ทุจริตอาจนำฉบับปลอมมาเปลี่ยนได้
                2. อย่าให้ผู้อื่นยืมโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 ไปไม่ว่ากรณีใดๆ
                3. ในกรณีโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 สูญหายหรือถูกลักให้รับแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) โดยเร็วแล้วนำใบแจ้งความไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อขอให้ออกใบแทนใหม่
                4. อย่าเซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความเป็นอันขาด ก่อนเซ็นชื่อให้กรอกข้อความในใบมอบให้ครบถ้วนและจะมอบให้ไปทำนิติกรรมเรื่องใดก็ให้เขียนลงไปให้ชัดเจน เช่น จะขายก็ว่าขาย จะให้ก็ว่าให้
                5. ควรพิจารณาถึงบุคคลที่จะรับมอบอำนาจจากท่าน ควรเป็นบุคคลที่ท่านเชื่อถือหรือรู้จักชอบพอกันมานาน หรือเป็นญาติพี่น้องกัน อย่ามอบอำนาจให้กับผู้ที่ไม่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน
                ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ควรไปทำธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินด้วยตนเองจะเป็นการปลอดภัยและสะดวกกว่า แม้จะเสียเวลาไปบ้างก็ยังดีกว่าสูญเสียทรัพย์
                6. ถ้ามีเวลาว่างควรนำโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 ไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินว่าที่ดินของท่านยังอยู่ปกติและมีหลักฐานถูกต้องตรงกับฉบับที่สำนักงานที่ดินหรือไม่ เพียงใด
                7. ก่อนจะรับซื้อ รับซื้อฝาก หรือรับจำนองที่ดินควรไปตรวจสอบดูที่ดินให้แน่นอนถูกต้งอตรงกับหลักฐานตามโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 ถ้าสงสัยให้ไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินก่อนหรือขอสอบเขตว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่
                8. ควรติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง
                9. อย่าทำสัญญาให้กู้ยืมเงินกันเอง โดยรับมอบโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 ไว้เป็นประกันเป็นอันขาด เพราะอาจเป็นฉบับของปลอม ทางที่ดีควรไปจดทะเบียนรับจำนอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะปลอดภัย
                10. การซื้อขายที่ดินมีโฉนด ผู้ซื้อขายชอบที่จะไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานที่ดินและชำระเงินทั้งหมดที่สำนักงานที่ดิน ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินขณะจดทะเบียนโอนที่ดิน ซึ่งอาจชำระเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คก็ได้ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น หากชำระก่อนการจดทะเบียนแล้วผู้ขายอาจบิดพลิ้วไม่โอนที่ดินให้หรือนำไปโอนขายให้บุคคลภายนอก
                ก่อนที่เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียน จะสอบถามผู้ขายว่าได้ชำระเงินแล้วหรือยัง ผู้ขายก็อาจเรียกให้ผู้ซื้อชำระเงินต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน หากผู้ขายแจ้งว่ายังไม่ได้รับชำระเงินเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่จดทะเบียน ซื้อขายให้ ปัญหาที่เกิดขึ้นมักเกิดจากผู้ขายยังไม่ได้รับชำระเงินค่าที่ดินครบถ้วนโดยจดทะเบียนโอนขายให้ผู้ซื้อไปก่อน ภายหลังผู้ซื้อบิดพลิ้ว ไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ ผู้ขายจึงไปฟ้องร้องเรียกเงินค่าที่ดินส่วนที่ยังไม่ได้รับจากผู้ซื้อ แต่ในสัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่า “ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว” ศาลได้พิจารณาแล้วว่าข้อความดังกล่าวในสัญญาแสดงว่าผู้ขายยอมรับว่าผู้ซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินทั้งหมดให้ผู้ขายแล้วในวันทำสัญญา การที่ผู้ขายนำพยานบุคคลมาสืบว่ายังไม่ได้รับชำระเงินครบถ้วนเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังแม้ผู้ขายจะนำเจ้าพนักงานที่ดินมาเป็นพยาน หากในสัญญาระบุว่าผู้ขายได้รับชำระเงินแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินก็ต้องเบิกความไปตามสัญญาว่า ผู้ขายได้รับชำระเงินแล้วแม้ว่าความจริงเจ้าพนักงานที่ดินจะรู้ว่ายังชำระเงินไม่หมดก็ตาม มิฉะนั้นเจ้าพนักงานที่ดินก็จะมีความผิด เมื่อทราบว่ายังไม่ชำระเงิน เหตุใดจึงจดทะเบียนโอนให้และยังระบุในสัญญาว่าผู้ขายได้รับชำระเงินแล้วเท่ากับ
ผู้ขายขายที่ดินแต่ไม่ได้เงิน หรือได้ไม่ครบถ้วน
                ทางแก้ไข หากผู้ขายยังไม่ได้รับชำระเงินบางส่วน ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ในสัญญา และขอจดทะเบียนบุริมสิทธิ คือสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนผู้อื่นในหนี้ส่วนนั้น เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินแปลงนี้ก่อนผู้ขาย
ที่มา : http://landinfo.mnre.go.th