LAW FOOTBALL CLUB

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555


พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์    "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย "
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วัพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417 เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ  ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน

ที่มา :  http://www.thailandroad.com/

ประเภทกฎมายในประเทศไทย









ประเภทกฎหมายในไทย


                การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท

(1)   กฎหมายมหาชน (Public Law)

(2)   กฎหมายเอกชน (Private Law)

(3)   กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)



           1.  กฎหมายมหาชน (Public Law)  ได้แก่  กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร  ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร  กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้  ดังนี้

 (1)   รัฐธรรมนูญ

(2)   กฎหมายปกครอง

(3)   กฎหมายอาญา

(4)   กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(5)   กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา

(6)   กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง



            2.  กฎหมายเอกชน (Private Law)  ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย  ก. ทำสัญญาซื้อขายกับ ข.   ก. กับ ข. ต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน  ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อย่างใด ๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไม่ได้  มีข้อที่ควรสังเกตว่าในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้  ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดา  กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้  ได้แก่  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป

(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็นหลายลักษณะด้วยกัน  เช่น  นิติกรรมสัญญา  หนี้  ซื้อขาย  เช่าทรัพย์  เช่าซื้อ  ละเมิด  ตัวแทน  นายหน้า  เป็นต้น  ในแต่ละลักษณะได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้  ในการศึกษากฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย  จะมีการศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ  แต่ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น

(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน  อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก  อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น  อย่างเช่น  ประมวลกฎหมายที่ดิน  ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท  เช่น คนต่างด้าว  เป็นต้น  พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา  พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมายเอกชน  เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง 


          3.  กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)  หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน  และแบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้  3  สาขา คือ

                         (1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ  เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน

                        (2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง  กฎหมายนี้จะกำหนดว่าถ้าข้อเท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ  (คือกฎหมายไทย) หรืออาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ

                        (3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา  เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น

ที่มา :  ttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=195836

กฏหมายคืออะไร

กฎหมาย คืออะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า กฎหมาย ไว้ว่า
กฎหมาย กฎ. น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมายคืออะไรเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงกันมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งนี้เพราะการให้ความหมายของคำว่า "กฎหมายแตกต่างไปตามแต่ว่าผู้ให้ความหมายนั้นมีแนวความคิดทางกฎหมายอย่างไร แต่ไม่ว่าสำนักความคิดใดหรือนักกฎหมายใดจะให้ความหมายของกฎหมายเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับตรงกันว่า กฎหมายสามารถจำแนกลักษณะได้ 4 ประการ"
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์
2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
4. กฎหมายต้องมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจลักษณะ
ที่มา : http://www.thethailaw.com/

ศัพท์ทางกฏหมาย

ความรู้เบื่องต้นของกฏหมาย